LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

ขออนุญาตเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อผลงาน :     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
    การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC
    (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน :      นายวิรัต โต๊ะเส็น
หน่วยงาน :     โรงเรียนบ้านพรุเตียว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่ประเมิน :     ปีการศึกษา 2563

บทสรุป

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ เป็นการประเมินผลโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 2) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านพรุเตียว 3) ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนบ้านพรุเตียว 4) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC 5) คุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น 5.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 5.2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้น ป.6 5.3) สมรรถนะนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 47 คน ครู จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง จำนวน 47 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับและได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.84 – 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป



ผลการประเมิน
1.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.56, S.D. = 0.52) ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครูมีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
2.    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู พบว่า
ปีการศึกษา 2563 ครู มีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.74, S.D. = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
    ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.89, S.D. = 0.38) ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ( = 4.77, S.D. = 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.    ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ โดยประเมินใน 5 ประเด็น ดังนี้
4.1    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพของการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.75, S.D. = 0.46) ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.75, S.D. = 0.44) ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.76, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า
ปีการศึกษา 2563 นักเรียนมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.72 S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า
    ปีการศึกษา 2563 ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.70 , S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.66 , S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 ครูที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.61, S.D. = 0.31) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.5    ผลการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียน จำแนกเป็น
    4.5.1    ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา ของนักเรียนที่ได้รับระดับ 3 ขึ้นไป โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
        ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านพรุเตียว โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย ร้อยละ เท่ากับ 67.03 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาจำแนกตามระดับชั้นพบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ สูงสุด เท่ากับ 79.38 และ 79.17 รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ เท่ากับ 73.43 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ ต่ำสุด เท่ากับ 47.77
                    ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านพรุเตียว โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย ร้อยละ เท่ากับ 56.88 เมื่อพิจารณาจำแนก ตามระดับชั้นพบว่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ สูงสุด เท่ากับ 71.15 รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ เท่ากับ 67.19 ส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย ร้อยละต่ำสุด เท่ากับ 47.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.5.2    ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้น ป.6 โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
        ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 33.06 และปีการศึกษา 2563 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.91 โดยภาพรวม ค่าคะแนนเฉลี่ย เพิ่มขึ้น +10.85 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพิ่มขึ้น มากที่สุด เท่ากับ +15.52 รองลงมาได้แก่ กลุ่มภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น + 13.75 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น น้อยที่สุด เท่ากับ +4.33
    4.5.3    ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า
        ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียน ที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2562 โดยรวมมีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 71.19 ปีการศึกษา 2563 มีผลการประเมินระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 85.41 ชี้ให้เห็นว่า สมรรถนะสำคัญของนักเรียนมีผลการประเมินระดับดีขึ้นไปทั้งสองปีการศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ มากกว่า ร้อยละ 75 ทั้ง 5 สมรรถนะ โดยปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทั้ง 5 สมรรถนะ โดยรวม เท่ากับ +9.22 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาค่าพัฒนา แต่ละสมรรถนะ พบว่า สมรรถนะในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าพัฒนาสูงสุด เท่ากับ +15.48 รองลงมาได้แก่ สมรรถนะความสามารถในการสื่อสาร มีค่าพัฒนา เท่ากับ +12.35 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีค่าพัฒนาต่ำสุด เท่ากับ +0.89
    สรุปผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านพรุเตียว ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ค่าน้ำหนัก 100 ได้คะแนนเฉลี่ย 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
1.    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1    กิจกรรมเรียนรู้สู่การปฏิบัติ : การออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยจับคู่ PLC และนำเสนอผลงาน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
1.2    ฝ่ายบริหารควรตรวจสอบ ID-PLAN และ LOG BOOK PLC ของครู อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นสู่ความยั่งยืน
1.3    โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ หรือ เผยแพร่ผลสำเร็จที่เกิดกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ให้กว้างยิ่งขึ้น
1.4    โรงเรียนควรกำหนดมาตรการที่เป็นแรงจูงใจ เชิงบวกกรณีที่ครูสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โดยตรวจสอบพัฒนาการของคุณภาพผู้เรียน ครอบคลุม 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน 3) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ และ 4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามสภาพจริง
2.     ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
2.1     ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับกลุ่มงาน หรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2.2    ควรวิจัยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในโรงเรียน และองค์กร เครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^