รายงานโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจ
สร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน นายอุศมาน หลีสันมะหมัด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านควนขัน
อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น ป.3-ป.6 ทุกคน จำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 จำนวน 32 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรที่เป็นคณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 8 คน และมีคำถามปลายเปิด จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .88 - .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 ด้านสภาพแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการดำเนินโครงการ พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x = 4.73, S.D. = .09) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการดำเนินโครงการมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.52, = .25) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการก่อนการดำเนิน ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ พบว่าโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย (=4.41, =.11) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณารายตัวชี้วัดแต่ละด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงเท่ากัน 2 ด้านได้แก่ ด้านความพอเพียงของงบประมาณ (= 4.58, =.21) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความพร้อมด้านบุคลากร (= 4.58, =.29) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมการบริหารจัดการ (=4.50, = .17) อยู่ในระดับมากที่สุดผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (=4.08, =.21) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน คณะกรรมการดำเนินโครงการ และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (=4.53, = .11) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D.= .11) ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( =4.48, S.D.= .10) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ระดับการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.55, S.D. = .10) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.54, = .09) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.53, S.D. = .09) ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2 คุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ และผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็น โดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.47, S.D. = .08) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และคณะกรรมการดำเนินโครงการ มีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.45, = .09) ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีผลการประเมินเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการ อยู่ในระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 94.27 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 100 รองลงมา ได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีวินัย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 97.92 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์จิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 85.42 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ความพึงพอใจในโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.56, S.D. = .17) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มคณะกรรมการดำเนินโครงการ (= 4.54, = .27) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กลุ่มนักเรียน และกลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.49, S.D. = .16) อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านควนขัน ปีการศึกษา 2562 อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่คุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามนักเรียนอย่างยั่งยืน
1.2 ควรมีการขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมที่ดีงามของนักเรียนโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย
2.3 ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษาโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปป์ (CIPP Model)