แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านแปลความ ตีความและอ่านสังเคราะห์
แบบฝึกทักษะภาษาไทย
เรื่องการอ่านแปลความ ตีความและอ่านสังเคราะห์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดย
นางสาวอมรรัตน์ ตาดม่วง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
โรงเรียนบ้านกันทรารมย์
ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
เอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ ทางผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดทำเนื้อหาและแบบฝึกใบงานพร้อมเฉลยให้สามารถศึกษาได้เอง เอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้รวบรวมเรียบเรียงสาระสำคัญโดยสังเขปชัดเจน เนื้อหาที่ได้บรรจุในเอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้มาจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อแกนกลางเพื่อให้มีความเหมาะสมกับนักเรียน
ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณ เพื่อนครู ครูผู้อาวุโส ครูชำนาญการ ศึกษานิเทศน์ และผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องของแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านแปลความ ตีความและอ่านสังเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ด้วยดี และขอบใจนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการเรียนและช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดบางประการจนทำให้เอกสารฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหากมีความผิดพลาดข้อบกพร่องข้อเสนอแนะ คำติชมใดพึงมี ถือเป็นการสร้างกุศลยิ่งแก่แวดวงวิชาการผู้เขียนขอน้อมรับด้วยความยินดี
อมรรัตน์ ตาดม่วง
ผู้จัดทำ
คำแนะนำสำหรับครูการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
การนำแบบฝึกทักษะภาษาไทยฉบับนี้ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรให้คำแนะนำในการเรียนรู้พร้อมทำข้อตกลงในการเรียน และปฏิบัติดังนี้
1. ครูผู้สอนควรให้คำแนะนำขั้นตอนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านแปลความ ตีความและอ่านสังเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยแก่นักเรียนอย่างละเอียด เพื่อให้นักเรียนแต่ละคนเข้าใจตรงกัน รวมทั้งการให้คะแนนทั้งการทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน และคะแนนจากแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละกิจกรรม
2. แบบฝึกเสริมทักษะฉบับนี้ นอกจากการใช้สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว ยังสามารถนำใช้สอนเสริมนอกเวลาเรียนปกติ หรือตามความเหมาะสม
3. ครูผู้สอนต้องอธิบายขั้นตอนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะนี้กับนักเรียนทีละขั้นตอน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนศึกษาเนื้อหาและทำแบบฝึกเสริมทักษะครูจะต้องบันทึกคะแนนทุกครั้งไว้ด้วย
4. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามความเหมาะสม โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
5. ครูผู้สอนให้นักเรียนศึกษาองค์ความรู้ ที่อยู่ในแบบฝึกเสริมทักษะโดยศึกษา ทำความเข้าใจอธิบาย ซักถาม ประกอบแล้วจึงให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละกิจกรรม
6. ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะตั้งแต่ต้นจนจบตามลำดับในแผนการจัดการเรียนรู้
7. ครูผู้สอนตรวจแบบฝึกเสริมทักษะที่นักเรียนได้ทำใบกิจกรรมพร้อมบันทึกคะแนนทุกครั้งให้เรียบร้อยให้ทำแบบทดสอบหลังเรียน
8. ครูผู้สอนดำเนินการตรวจแบบฝึกทักษะ แบบทดสอบ และสังเกตพฤติกรรมการร่วมกิจกรรมของนักเรียน บันทึกคะแนน และแจ้งผลการประเมินแก่นักเรียนเป็นรายบุคคล
คำแนะนำสำหรับนักเรียนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
เอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สร้างขึ้นนี้ จัดทำขึ้นเป็นนวัตกรรมสำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอ่านแปลความ ตีความและอ่านสังเคราะห์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนใช้ได้ถูกต้อง โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ถึงความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าและเป็น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด
1. ให้นักเรียนอ่านคำแนะนำสำหรับนักเรียนก่อนลงมือศึกษาเอกสารประกอบ การเรียนรู้เล่มนี้ทุกครั้ง
2. นักเรียนควรอ่านและทำแบบทดสอบก่อนเรียนตามที่กำหนดไว้ในแบบฝึกเสริมทักษะให้ครบทุกกิจกรรม
3. นักเรียนควรตั้งใจศึกษาและทำความเข้าใจคำชี้แจง และคำสั่งก่อนที่จะลงมือปฏิบัติกิจกรรมในแบบฝึกเสริมทักษะต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในแบบฝึกเสริมทักษะ
4. นักเรียนควรอ่านทบทวนแบบฝึกเสริมทักษะแต่ละแบบฝึกที่ทำทุกครั้งก่อนส่งครู เพื่อตรวจทานความถูกต้อง
5. นักเรียนควรสำรวจตนเองว่าทำคะแนนในแบบฝึกเสริมทักษะในแต่ละแบบฝึกและแบบประเมินต่างๆ ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับใด เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องและพัฒนาตนเองให้มีความสามารถมากขึ้น
6. ให้นักเรียนตั้งใจทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยความตั้งใจและเต็มความสามารถ เพราะคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนจะเป็นคะแนนเก็บที่ใช้ในการประเมินผลของนักเรียน
7. หากนักเรียนมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจในเนื้อหาของเอกสารประกอบการเรียนรู้ เล่มนี้และต้องการทบทวนเนื้อหาใหม่อีกครั้งหรือต้องการใช้เอกสารประกอบการเรียนรู้เป็นตัวอย่างในกรณีศึกษาเพิ่มเติม นักเรียนสามารถยืมเอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้แต่ต้องรักษาให้อยู่ในสภาพดีและไม่สูญหาย
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ 1
คำแนะนำสำหรับครูการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย 2
คำแนะนำสำหรับนักเรียนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย 3
แบบทดสอบก่อนเรียน 4
ใบความรู้ 5
ใบงานที่ 1 6
ใบงานที่ 2 7
ใบงานที่ 3 8
ใบงานที่ 4 9
ใบงานที่ 5 10
ใบงานที่ 6 11
แบบทดสอบก่อนเรียน 12
แบบบันทึกคะแนน 13
แบบทดสอบก่อนเรียน
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การแปลความมีวิธีการอย่างไร
ก. การถอดความให้ได้ความหมาย
ข. การสรุปความให้มีความหมายตรงตัว
ค. การแปลความโดยสรุปใจความสำคัญ
ง. การแปลตามตัวอักษรโดยถือความหมายเป็นสำคัญ
2. ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน สำนวนนี้แปลความว่าอย่างไร
ก. ทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว
ข. พูดจาหว่านล้อมก่อนเข้าสู่จุดประสงค์
ค. กำลังจะได้หรือกำลังจะเสียอยู่ในระยะก้ำกึ่งกัน
ง. มีเรื่องเดือดร้อนเกิดขึ้นยังไม่ทันแก้ไขก็มีเรื่องใหม่ เกิดซ้ำ
3. เครื่องหมาย < แปลว่าอย่างไร
ก. มากกว่า ข. น้อยกว่า
ค. เสมอกัน ง. แหลมกว่า
4. การตีความได้ดีนั้นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด มากที่สุด
ก. ความหมายตรง ข. ความหมายหลัก
ค. ความหมายโดยนัย ง. ความหมายตามตัวอักษร
5. การตีความหมายของคำหรือสำนวนต้องพิจารณาสิ่งใด เป็นสำคัญ
ก. บริบทของข้อความ
ข. หน้าที่ของข้อความ
ค. รูปแบบของข้อความ
ง. องค์ประกอบของข้อความ
6. “ก้อร่อก้อติก แปลว่า อาการที่ทำเป็นเจ้าชู้” การแปล
ในข้อนี้เป็นการแปลรูปแบบใด
ก. แปลสำนวนให้เป็นภาษาสามัญ
ข. แปลคำพังเพยให้เป็นภาษาสามัญ
ค. แปลคำศัพท์เฉพาะให้เป็นภาษาธรรมดา
ง. แปลคำศัพท์เฉพาะให้เป็นสำนวนธรรมดา 7. เรื่องใดสำคัญที่สุดในการอ่านตีความ
ก. การสรุปความ
ข. การแปลความ
ค. การจับใจความ
ง. การเรียบเรียงข้อความ
8. ข้อใดคือลักษณะการขยายความที่กล่าวได้ถูกต้องที่สุด
ก. การอธิบายเพิ่มเติมให้มีความละเอียดมากขึ้น
จากเนื้อความเดิม
ข. การสอดแทรกความรู้และแสดงความคิดเพิ่มเติม จากเนื้อความเดิม
ค. การแสดงความรู้และความคิดเห็นที่นอกเหนือไป จากเนื้อความเดิม
ง. การสรุปเนื้อความเดิมแล้วอธิบายแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมให้เกิดภาพพจน์
อ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม ข้อ 9-10
ความสุขของปู่คือกินเหล้า ความเศร้าของย่าคือห่วงปู่
แม้ความรู้สึกของย่าปู่จะรู้ แต่ปู่ก็เป็นปู่ไม่เปลี่ยนแปลง
ย่าอาจมิเคยรู้ความรู้สึก ลึกลึกของปู่ไม่เคยแจ้ง
แม้ย่าจะบ่นก่นคำแรงแรง ปู่ก็ไม่แสดงอารมณ์ใด
9. คำว่า ก่น แปลว่าอย่างไร
ก. ดุ ข. จิก
ค. ด่า ง. แช่ง
10. ข้อความดังกล่าว ตีความได้ว่าอย่างไร
ก. ความอดทนไม่โต้ตอบ
ข. ความขัดแย้งระหว่างปู่กับย่า
ค. ความรักและความห่วงใยของสามีภรรยา
ง. ความไม่กระจ่างชัดในการสื่อสารทำให้เกิดปัญหา
เฉลย
1. ง 2. ก 3. ข 4. ค 5. ก 6. ค 7. ค 8. ก 9. ค 10. ข
เรื่องการอ่านแปลความ ตีความและอ่านสังเคราะห์
ชื่อ...............................................................................เลขที่........................
ทดสอบก่อนเรียน
ข้อ ก ข ค ง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ใบความรู้
การอ่านงานเขียนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสารคดีหรือบันเทิงคดี ทั้งบทกวี วรรณคดี วรรณกรรม เรื่องสั้น บทความ ตลอดจนข่าวสาร ล้วนต้องอาศัยการแปลความ ทั้งแปลจากภาษาอื่น หรือแปลความหมายในภาษาเดียวกัน จากระดับภาษาหนึ่งสู่ระดับภาษาที่เข้าใจได้ง่ายกว่า จากนั้นก็ต้องอาศัยการตีความ เพราะบางครั้งภาษาก็มีความกำกวม หรือมีการใช้สำนวนโวหาร ที่ต้องรู้บริบทของผู้เขียนจึงจะเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และบางทีที่ผู้เขียนใช้ภาษาที่กระชับ รวบรัดเพื่อความสวยงาม การจะเข้าใจเนื้อหาของเรื่องที่อ่านได้อย่างถ่องแท้ ก็ต้องอาศัยการขยายความอีกด้วย
การตีความ
การอ่านสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสั้น นิทาน นวนิยาย วรรณกรรม ข่าว บทความ หรือเนื้อหาวิชาการ บ่อยครั้งที่เราอาจไม่เข้าใจความหมายที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อ หรือเข้าใจได้ไม่ตรงกับที่ผู้แต่งหมายความ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะผู้แต่งมีประสบการณ์ทางด้านภาษามากกว่าเรา หรือมีภาพพจน์ของชุดคำศัพท์เดียวกันแตกต่างจากเรา
คำศัพท์คำเดียวกัน จะให้ภาพพจน์ที่ต่างกันในคนที่มีประสบการณ์กับคำนั้นต่างกัน เช่น คำว่า “โต๊ะ” หากผู้แต่งมีเชื้อสายจีน ยามเลือกใช้คำว่าโต๊ะ ก็อาจจะนึกถึงโต๊ะไม้ทรงกลมสำหรับนั่งล้อมวงกินข้าวกับครอบครัว แต่ผู้อ่านอาจจะนึกถึงโต๊ะอาหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบที่บ้าน เวลาจินตนาการตามผู้แต่งก็จะนึกภาพไปคนละทาง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเข้าใจเนื้อเรื่องผิดไปได้
ผู้ประพันธ์สารต่างๆ มักเป็นผู้ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาเป็นอย่างดี บางครั้งก็อาจใช้ภาษาที่สละสลวย แต่ไม่ใช่ระดับภาษาที่คนทั่วไปจะอ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที หรือผู้แต่งอาจจงใจซ่อนความหมายบางอย่างไว้ใต้ความสวยงามของภาษา หากเราอ่านแบบผ่านๆ ก็จะไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งที่ผู้แต่งต้องการนำเสนอได้ หากต้องการที่จะเข้าใจความหมายที่ผู้แต่งสื่อให้ได้ใกล้เคียงที่สุด ผู้อ่านจะต้องใช้ สติปัญญา พื้นความรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการในการอ่านสารอย่างพินิจพิจารณา ซึ่งทักษะในการอ่านดังนี้ก็คือ “การตีความ” นั่นเอง
หลักในการตีความเรื่องที่อ่าน
1. อ่านเนื้อเรื่องให้ละเอียด แล้วลองจับประเด็นสำคัญให้ได้
2. ใคร่ครวญด้วยเหตุผลว่า ข้อความที่ได้อ่านมีความหมายว่าอย่างไรกันแน่
3. ขบคำสำคัญให้แตก รวมทั้งคำแวดล้อมและบริบท เพื่อให้เข้าใจความหมายได้ลึกซึ้งขึ้น
ความสำคัญของการอ่านแบบตีความ
1. ทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่อ่านได้หลายด้านหลายมุม
2. ทำให้เห็นคุณค่าและได้รับประโยชน์จากสิ่งที่อ่าน
3. เป็นการฝึกคิด ฝึกไตร่ตรองด้วยเหตุผล
4. ช่วยให้มีวิจารณญาณในการอ่านมากยิ่งขึ้น
5. เป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงงานประพันธ์นั้นๆ
6. ช่วยให้ผู้อ่านมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล ลึกซึ้ง มีใจกว้างยอมรับความแตกต่างของมนุษย์ด้วยกันได้
การแปลความ
นอกจากการตีความแล้ว ทักษะที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ “การแปลความ” โดยการแปลความหมายถึง การแปลงหรือเรียบเรียง “ความ” ที่ได้อ่าน จาก “คำเดิม สำนวนเดิมหรือภาษาเดิม” ให้กลายเป็น “คำใหม่ สำนวนใหม่หรือภาษาใหม่” ซึ่งเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยที่ยังคงรักษาความหมายของเนื้อหาไว้ได้อย่างครบถ้วน
การแปลความมีหลายลักษณะ อาจเป็นการแปลจากภาษาหนึ่งไปเป็นภาษาหนึ่ง หรืออาจเป็นการแปลภาษาเดียวกัน แต่เปลี่ยนระดับของภาษา จากระดับทางการให้เป็นระดับภาษาพูดที่เข้าใจได้ง่ายกว่า หรือกลับกัน แปลภาษาพูดให้เป็นภาษาทางการเพื่อใช้ในงานต่างๆ หรืออาจเป็นการแปลสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ให้เป็นข้อความธรรมดา หรืออาจเป็นการแปลบทกวี ร้อยกรอง ให้เป็นภาษาทั่วไปก็ได้
หลักสำคัญของการแปลความ
1. จับใจความสำคัญหรือสาระของเรื่องให้ได้
2. เรียบเรียงเป็นข้อความใหม่ที่มีความหมายชัดเจน และคงความหมายเดิมไว้ได้
การขยายความ
การขยายความ คือ การอธิบายความเข้าใจของเราที่มีต่อสารที่เราอ่านให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจผ่านการแปลความและการตีความของเรา แล้วให้ความคิดเห็นหรือเหตุผลเพิ่มเติมเพื่อขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
วิธีการขยายความ
1. กล่าวถึงสาเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน
2. ยกตัวอย่างหรือข้อเท็จจริงมาประกอบ
3. อธิบายสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นเพิ่มเติม
4. คาดคะเน (การอนุมาน) สิ่งที่น่าจะเป็น หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป โดยอาศัยข้อมูลจากเรื่องเดิมเป็นพื้นฐานในการคาดคะเน
ตัวอย่างการแปลความ ตีความ และขยายความจากคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
“เมียท่านพิศพ่างเพี้ยง มารดา
ทรัพย์ท่านคืออิฐผา กระเบื้อง
รักสัตว์อื่นอาตมา เทียมเท่า กันแฮ
ตรองดั่งนี้จักเปลื้อง ปลดพ้นสงสาร”
(จาก “โคลงโลกนิติ”)
โคลงบทนี้แปลได้ความว่า “ภรรยาของผู้อื่น ให้มอง (พิศ) เสมือนหนึ่ง (พ่างเพี้ยง) มารดาของตน ทรัพย์สินของผู้อื่น ให้มองเสมือนหนึ่ง หิน อิฐและกระเบื้อง รักเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้เสมอกับที่รักตนเอง (อาตมา) หากคิดได้ดังนี้ ก็จะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร (สงสาร)”
ซึ่งตีความได้ว่า “การไม่คิดชั่วช้าลามกต่อภรรยาผู้อื่น (มองเหมือนแม่) การไม่ยินดีต่อทรัพย์ของผู้อื่น (มองเป็นของไร้ค่า) และการไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น (รักเท่ารักตัวเอง) คือวิธีหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด”
และขยายความได้ว่า “การรักษาศีลโดยเฉพาะสามข้อแรกให้บริสุทธิ์ คือ ไม่ฆ่าหรือเบียดเบียนสัตว์ ไม่ลักทรัพย์หรือฉ้อโกง ไม่ประพฤติผิดในกาม จะเป็นพื้นฐานที่ทำให้บุคคลบรรลุถึงพระนิพพานในที่สุด”
เอกสารประกอบการสอน
พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
หนังสือนี้มีมากมายหลายชนิด
นำดวงจิตเริงรื่นชื่นสดใส
ให้ความรู้สำเริงบันเทิงใจ
ฉันจึงใฝ่ใจสมานอ่านทุกวัน
มีวิชาหลายอย่างต่างจำพวก
ล้วนสะดวกค้นได้ให้สุขสันต์
วิชาการสรรมาสารพัน
ชั่วชีวันฉันอ่านได้ไม่เบื่อเลย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางxxxร พระราชนิพนธ์คำกลอน เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 5 ธันวาคม 2515
“…ขอน้อมกราบพระบาทบูชาพ่อ พ่อเพียรก่อชายมาจนกล้าแข็ง
พ่อรักชายห่วงชายไม่แสดง พ่อคอยแจ้งทิศทางให้สร้างคน
ช่วงชีวิตที่ผ่านมาจนบัดนี้ เข้าใจดีชายผิดพลาดดื้อสับสน
เคยสร้างความยุ่งยากให้กังวล พ่อสู้ทนให้อภัยแก้ไขมา
วันเวลาผ่านไปให้สำนึก ในส่วนลึกของพ่อที่ปรารถนา
ยากจะหาพ่อใครในโลกา ที่เมตตารักลูกอย่างถูกทาง
จะอดกลั้นขันติมีมานะ เสียสละยุติธรรมทำทุกอย่าง
จะซื่อสัตย์จริงใจไม่อำพราง เดินสายกลางข่มใจให้นิ่มนวล
บรรดาข้าฯ บริวารจะสานไว้ แม้ยากไร้อุ้มชูสุดสงวน
จะเผื่อแผ่เมตตาเท่าที่ควร เป็นขบวนแน่นมัดพัฒนา
การศึกษาของชายในปีนี้ ก้าวหน้าดีผ่านได้ไร้ปัญหา
ขอถวายทูลหม่อมพ่อที่รอมา โล่งอุราวันเฉลิมฯ เพิ่มสุขเอยฯ”
ใบงานที่ 1 การอ่านแปลความ ตีความ และขยายความ
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกอ่านบทความที่สนใจ แล้วเขียนแปลความ ตีความ และขยายความ
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้ ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้ จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้ แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง คนเราโดยมากมักนึกว่า อนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้ แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน เพราะอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน
พระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519
1. แปลความ
2. ตีความ
3. ขยายความ
แบบประเมินการเขียนแปลความ ตีความ และขยายความ จากบทความที่สนใจ
ลำดับที่ รายการประเมิน ระดับคะแนน
4 3 2 1
1 การแปลความ
2 การตีความ
3 การขยายความ
4 การใช้ภาษา
รวม
ลงชื่อ ....................................................ผู้ประเมิน
................ /................ /................
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก = 4 คะแนน
ดี = 3 คะแนน
พอใช้ = 2 คะแนน
ปรับปรุง = 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
14 - 16 ดีมาก
11 - 13 ดี
8 - 10 พอใช้
ต่ำกว่า 8 ปรับปรุง
ใบงานที่ 2 การอ่านแปลความ ตีความ และขยายความ
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านเรื่องสั้น แล้วแปลความ ตีความ และขยายความ
ฆาตกรรมจากก้นครัว
โดยหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
“คนเรานี่แปลก” พันตำรวจโทหลวงกำจัดโจรภัย ผู้กำกับการตำรวจจังหวัดรัตนบุรี นึกในใจขณะที่ก้าวขึ้นบันไดเรือนของคุณนายองุ่น เศรษฐีนีผู้มีชื่อเสียงของจังหวัดนั้น “บางทีหน้าตาดีๆ เงินทองก็มีพอกินพอใช้ ไม่น่าจะเป็นผู้ร้ายใจอำมหิตก็เป็นไปได้”
หลวงกำจัดก้าวขึ้นบันไดเรือนอย่างช้าๆ เรือนนั้นเป็นไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้อง เป็นเรือนขนาดใหญ่ ปลูกตามสบาย ตามแบบชนบท ตัวเรือนและบริเวณบ้านแผ้วถางและปัดกวาดไว้เรียบร้อยร่มรื่นไปด้วยไม้ดอกไม้ผลนานาชนิด แสดงให้เห็นว่าเจ้าของบ้านเป็นผู้มีหลักทรัพย์มั่นคงและเป็นคนเจ้าระเบียบสะอาดสะอ้าน เจ้าของบ้านนั้นก็ใช่อื่นไกล คือคุณนายองุ่น เศรษฐีนีผู้มีคนรู้จักทั่วทั้งจังหวัด
คุณนายองุ่นมีอายุ 40 ปีบริบูรณ์ ตามปกติหลวงกำจัดก็ไม่เคยให้ความสนใจเป็นพิเศษแก่คุณนายแต่อย่างใด แต่ประวัติของคุณนายองุ่นในระยะเวลา 3-4 ปีที่แล้วมา ทำให้หลวงกำจัดต้องให้ความสนใจแก่เธอในหน้าที่ราชการ ในฐานะที่เป็นตำรวจ เพราะเมื่อ 4 ปีมาแล้ว เมื่อคุณนายองุ่นมีอายุครบ 3 รอบ เธอได้แต่งงานกับนายเพิ่ม กายกำแหง อายุ 56 ปี เศรษฐีใหญ่ในจังหวัดรัตนบุรี เจ้าของโรงสีตั้ง 5-6 โรงขึ้นไป และมีรถยนต์เดินระหว่างจังหวัดอื่นๆ พร้อมทั้งเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ที่สุด แต่พออยู่กินกันมาได้ปีเศษ นายเพิ่มก็ตายลงด้วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้พิการ ทิ้งมรดกกองมหึมาไว้ให้คุณนายองุ่นแต่เพียงผู้เดียว พอปลงศพนายเพิ่มได้แล้วไม่นาน ก็ปรากฏว่าคุณนายองุ่นแต่งงานกับเศรษฐีใหม่อีกนายหนึ่ง ชื่อนายชิต กำลังกล้า อายุราวๆ 53 ปี นายชิตนับว่าเป็นบุคคลที่รุ่มรวยไม่แพ้นายเพิ่ม เพราะนายชิตทำป่าไม้ มีโรงเลื่อยหลายโรง มีที่ดินเรือกสวนไร่นาพอๆ กับนายเพิ่ม และยิ่งกว่านั้นยังมีเสียงกระซิบกันดังๆ ว่านายชิตค้าฝิ่น หาเงินได้มากมายหลายล้าน แต่พอคุณนายองุ่นอยู่กินกับนายชิตมาได้ 2 ปี นายชิต ก็ตายลงด้วยโรคกระเพาะอาหารและลำไส้พิการเช่นเดียวกับนายเพิ่มไม่มีผิด และเช่นเดียวกับนายเพิ่ม นายชิตได้ทิ้งมรดกกองมหึมาไว้ให้คุณนายองุ่นรับแต่เพียงผู้เดียว
การเป็นหม้ายทรงเครื่องถึงสองครั้งสองหนติดๆ กันนี้ ทำให้เกิดเสียงกระซิบกระซาบกันขึ้นในจังหวัดว่าคุณนายเป็นผู้ร้ายฆ่าคนตาย วางยาผัวซึ่งมีทรัพย์มากเสียถึงสองคนเพื่อเอาสมบัติ เพราะนายเพิ่ม นายชิตตายด้วยโรคเดียวกัน เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ มิหนำซ้ำเวลาที่ตายนั้นก็ใกล้ชิดกันนัก เสียงกระซิบเริ่มเกิดขึ้นในวงหมู่ญาติของผู้ตายถึงสองคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้ตายทั้งสองคนนั้นตายโดยมีพินัยกรรมโดยถูกต้อง ยกทรัพย์สมบัติของตนทั้งหมดให้คุณนายองุ่นแต่เพียงผู้เดียว โดยที่ญาติผู้ตายมิได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สมบัติแต่อย่างใดเลย ต่อมาเสียงกระซิบนั้นก็แพร่จากวงญาติเข้าสู่ร้านกาแฟ เข้าสู่บ่อนไก่ จนในที่สุดก็เป็นข่าวเลื่องลือที่โด่งดังที่สุดในจังหวัดรัตนบุรี และก็เป็นธรรมดาที่ข่าวลือชนิดนี้จะต้องกระทบกระเทือนถึงเกียรติของเจ้าพนักงานตำรวจ ในข้อที่ว่า เซ่อเซอะงมงาย หย่อนความสามารถและอื่นๆ จิปาถะ
หลวงกำจัดเป็นตำรวจมานาน บิดาของหลวงกำจัดก็เป็นตำรวจสมัยเจ้าคุณวาสุเทพ ตัวหลวงกำจัดเริ่มตั้งแต่เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจสมัยโรงเรียนตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม มีน้องชายอยู่อีกคนหนึ่งก็ได้ข่าวว่าเป็นอัศวินอยู่ในกรุงเทพฯ ฉะนั้นหลวงกำจัดจึงรักราชการตำรวจเป็นชีวิต เมื่อมีเรื่องราวมากระทบถึงชื่อเสียงตำรวจในจังหวัดที่ตนเป็นผู้กำกับอยู่ก็เกิดความร้อนใจ ครั้นข่าวลือเรื่องคุณนายองุ่นฆ่าผัวดังขึ้นทุกที แทนที่จะเงียบหายไปเอง หลวงกำจัดก็อดรนทนไม่ไหว ต้องเริ่มออกสืบสวน ในชั้นแรกก็ให้นายตำรวจในชั้นรองๆ รับเอาไปทำ แต่ก็ไม่ปรากฏผลสำเร็จอย่างใดเกิดขึ้น มิหนำซ้ำข่าวคราวก็ยิ่งสลับซับซ้อนหนาหูขึ้นทุกที หนักเข้าหลวงกำจัดก็ต้องเรียกเรื่องมาทำเสียเอง
การสืบสวนยิ่งทำให้หลวงกำจัดต้องหนักใจมากขึ้น ถ้าจะดูรูปเรื่องโดยทั่วไป ก็มีเหตุที่น่าสงสัยว่า ทั้งนายเพิ่มและนายชิตตายด้วยเหตุธรรมชาติ เพราะคนทั้งสองนั้นมีชื่อว่าเป็นคนแข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งที่เป็นผู้สูงอายุ แต่พอได้มาอยู่กินกับคุณนายองุ่นได้ไม่เท่าไรก็เริ่มกระเสาะกระแสะจนถึงแก่ความตายไปทั้งสองคน ถ้าจะคำนึงถึงเหตุ จูงใจให้ก่อฆาตกรรม ทรัพย์สมบัติของผู้ตายทั้งสองคนก็มากมายเอาการอยู่ หลวงกำจัดมองด้วยสายตาของตำรวจ ก็เห็นได้ว่าข่าวที่คนเลื่องลือนั้นมีมูลอยู่ไม่น้อย แต่พอไปลงมือสืบสวนดูด้วยตนเอง หลวงกำจัดก็ต้องจนมุมเสียทุกทาง จะหาหลักฐานที่แน่นอนอย่างไรก็ไม่ได้ ว่าคุณนายองุ่นวางยาผัวตายไปสองคน หลักฐานสำคัญที่จะพิสูจน์ว่าสามี ของคุณนายองุ่นตายด้วยยาพิษจริงหรือไม่นั้น ยังเหลืออยู่ก็แต่ศพนายชิต ซึ่งฝากไว้ที่วัดยังไม่ได้เผา ถ้าได้นำอวัยวะบางส่วนส่งตรวจที่กรุงเทพฯ ก็จะได้รู้ทันทีว่านายชิตตายด้วยยาพิษจริงหรือไม่ หลวงกำจัดเคยส่งนายร้อยตำรวจไปขออนุญาตตรวจศพนายชิต แต่คุณนายองุ่นกลับปฏิเสธเด็ดขาด อ้างไม่มีคดี ไม่มีเจ้าทุกข์และผู้ต้องหา ตำรวจจะเข้ามาก้าวก่ายไม่ได้ เมื่อคุณนายองุ่นเป็นฝ่ายถูก หลวงกำจัดก็ต้องนิ่งไป
วันนี้เป็นวันที่หลวงกำจัดตัดสินใจเด็ดขาดว่า จะเริ่มทำการโจมตีด้วยตนเอง ชั่วดีผิดถูกอย่างไรก็ต้องพูดจากับคุณนายองุ่นให้แตกหักไป พอหลวงกำจัดก้าวขึ้นไปถึงกลางบันไดเรือน ก็ได้ยินเสียงคุณนายองุ่นร้องเชิญมาจากข้างบน
“แหม วันนี้ท่านผู้กำกับมาถึงนี่ เชิญซิเจ้าคะ มีธุระอะไรกับดิฉันจะรับใช้ท่านได้ก็ยินดี”
คุณนายองุ่นนั่งอยู่กับพื้นบนระเบียงเรือน พอหลวงกำจัดก้าวขึ้นบนนอกชาน เธอก็กระพุ่มมือไหว้พลางเชิญให้นั่งบนเก้าอี้
“ไม่มีธุระอะไรดอกครับ” หลวงกำจัดตอบอ้อมแอ้มสีหน้าแสดงพิรุธ “ว่างๆ ผ่านมาผมก็แวะเข้ามาเยี่ยม” หลวงกำจัดพูดพลางกวาดสายตาไปรอบๆ ระหว่างบันไดเรือนและเฉลียงที่คุณนายองุ่นนั่งอยู่ เป็นนอกชานกว้าง พื้นขัดถูสะอาดจนกระดานขาว มีกระถางไม้ดัด กระถางบอน และต้นไม้ดอกตั้งอยู่เป็นระยะๆ ดูสวยงาม ตามโคนเสาระเบียงนั้นก็ตั้งกระถางก่อเขามอใส่ ตามชายคานั้นก็แขวนกระเช้ากล้วยไม้ กำลังออกดอกหลายกระเช้า ในที่ร่มก็ตั้งกระถางหน้าวัวกำลังออกดอกเช่นเดียวกัน หลวงกำจัดเล่นต้นไม้แก้เหงาในยามว่างมาหลายปี เมื่อมองดูสิ่งเหล่านี้ด้วยสายตานักเล่นก็อดชมในใจไม่ได้ว่าคุณนายองุ่นช่างเล่นและรู้จักของดี ตัวระเบียงที่คุณนายองุ่นนั่งอยู่พื้นกระดานขัดถูจนเป็นมัน นั่งเล่นนอนเล่นได้ และตั้งอยู่ที่ที่ถูกช่องลม อากาศภายนอกจะร้อนเพียงใดก็ร่มเย็นอยู่เป็นนิตย์ มองจากระเบียงไปในห้อง เห็นม้าหมู่ที่บูชาปิดทองอร่าม มีพระดีๆ ตั้งอยู่หลายองค์ หลวงกำจัดอดนึกไม่ได้ว่าถ้าชอบพอกัน และมาหาในลักษณะที่ดีกว่านี้ก็ต้องขอชม และนึกต่อไปว่าเรือนหลังนี้ถ้าได้แขวนนกเขาคารมอีกสักกรงสองกรงก็จะครึ้มขึ้นอีกหาน้อยไม่
ตัวคุณนายองุ่นแต่งตัวอยู่กับบ้านตามxxxอายุ 40 เธอนุ่งผ้าลายสีนวลดอกแดง สวมเสื้อผ้าป่านดอกอย่างบาง ตัดให้หลวมๆ ใส่สบาย ผ่าอกตลอด และขัดไว้ด้วยกระดุมทองคำเล็กๆ ฝังทับทิม ที่ข้อมือเธอใส่สร้อยทองเกลี้ยงๆ สองหรือสามเส้น สร้อยคอและต่างหูไม่ใส่ คุณนายองุ่นตัดผมสั้นแต่ไว้ทรง ผมค่อนข้างยาว ประกอบกับเป็นคนผมหยักศกจึงดูรับกับใบหน้า ถึงแม้ว่าจะรับประทานหมากก็มิได้ปล่อยฟันให้ดำ รอยของหมากที่กินนั้นทิ้งไว้ที่ริมฝีปากซึ่งแดงเรื่อๆ ทำให้คมขำยิ่งขึ้น คุณนายองุ่นไม่ใช่คนผอม แต่ก็ไม่ใช่คนอ้วนเนื้อหนังเต็มตัวพอสบาย ผิวเนื้อของเธอจะว่าขาวก็ไม่ใช่และไม่ดำเป็นแน่ หลวงกำจัดเหลือบดูเห็นรอยประแป้งไว้รางๆ พลางนึกในใจว่า “อย่างนี้ซิหนอที่เขาเรียกกันว่าผิวเป็นแตงร่มใบ” หลวงกำจัดไม่เคยสังเกตรูปโฉมคุณนายองุ่นอย่างใกล้ชิดมาแต่ก่อน เคยแต่ผ่านกันในตลาด พอจำหน้ากันได้ เมื่อได้มาสังเกตใกล้ๆ ก็เกิดความรู้สึกขึ้นว่า คุณนายองุ่นนั้นถึงจะไม่สวยฉูดฉาด ก็งามสมกับวัย และรูปร่างหน้าตาคุณนายองุ่นนั้นจะไม่มีเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมลงไปภายในเวลา 20-30 ปีข้างหน้า จะคงอยู่อย่างไรก็อย่างนั้น เป็นนิจจังในของที่เป็นอนิจจังทั้งหลาย
เสียงของคุณนายองุ่นพูดขึ้นว่า “อุ๊ย ดิฉันรู้หรอกค่ะ อย่างท่านผู้กำกับว่าไม่มีธุระอะไรนั้นไม่มีเสียละ คงต้องมีอะไรบ้างไม่มากก็น้อย” ทำให้หลวงกำจัดสะดุ้งตื่นจากภวังค์ กลับเข้าสู่ความเป็นจริงนึกถึงเรื่องธุระที่มา
“ครับ ก็มีบ้างเล็กน้อย” หลวงกำจัดกล่าวตอบ “ผมขอพูดกับคุณนายตรงๆ ดีกว่า คุณนายก็คงทราบข่าวที่คนอื่นเลื่องลือกัน...”
“ทราบดีทีเดียวค่ะ” คุณนายพูดสวนทันควันขึ้นมา “นี่ท่านผู้กำกับจะมาสอบสวนดิฉันหรือเจ้าคะ หรือว่าจะมาค้นบ้าน จะเห็นควรอย่างไรก็สุดแล้วแต่ เพราะดิฉันถือว่าท่านผู้กำกับเป็นผู้ใหญ่ที่น่าเคารพ ความจริงดิฉันไม่มีอะไรจะปิดบัง ที่ดิฉันไม่ยอมให้คุณนายร้อยตำรวจหนุ่มๆ นั้นตรวจศพนายชิต ก็เพราะว่าพูดจากันไม่รู้เรื่อง คุณคนนั้นแกยังเป็นเด็กแล้วก็ยโส ถ้าท่านผู้กำกับมาขอเองแต่แรก ดิฉันก็ยอมซิเจ้าคะ”
“ครับ ขอบคุณ แต่...”
“แต่แล้วท่านผู้กำกับก็ส่งคนไปลักตรวจศพคุณชิตจนได้ จนในที่สุดก็ไม่พบอะไรใช่ไหมล่ะเจ้าคะ” คุณนายองุ่น ชิงพูดขึ้นมาอีก แล้วก็กล่าวต่อไป “ดิฉันนึกไว้แล้วว่าไม่ช้าไม่นาน ท่านผู้กำกับก็ต้องมาหาดิฉันถึงบ้าน แต่ไม่เป็นไรหรอกค่ะ ดิ