แบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ ชั้น ม.3
แบบฝึกทักษะภาษาไทย
เรื่องการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดย
นางสาวอมรรัตน์ ตาดม่วง
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
โรงเรียนบ้านกันทรารมย์
ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
คำนำ
เอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ ทางผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีเนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดทำเนื้อหาและแบบฝึกใบงานพร้อมเฉลยให้สามารถศึกษาได้เอง เอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้รวบรวมเรียบเรียงสาระสำคัญโดยสังเขปชัดเจน เนื้อหาที่ได้บรรจุในเอกสารประกอบการเรียนรู้เล่มนี้ได้มาจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อแกนกลางเพื่อให้มีความเหมาะสมกับนักเรียน
ผู้ศึกษาขอกราบขอบพระคุณ เพื่อนครู ครูผู้อาวุโส ครูชำนาญการ ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการโรงเรียนที่ได้กรุณาให้คำแนะนำและตรวจสอบความถูกต้องของแบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย เรื่องการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ฉบับนี้ด้วยดี และขอบใจนักเรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการเรียนและช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดบางประการจนทำให้เอกสารฉบับนี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้เรียน ครูผู้สอนและผู้สนใจในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ให้กับตนเองหรือกลุ่มผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อมรรัตน์ ตาดม่วง
ผู้จัดทำ
คำแนะนำสำหรับครูการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
สิ่งที่ครูควรปฏิบัติ ก่อน – หลัง และขณะจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ครูควรศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการใช้ชุดการเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การใช้สื่อและอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีวัดผลและประเมินผลของชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้ชัดเจน
2. ครูควรค้นคว้าและอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน คู่มือครู และหนังสือเสริมประสบการณ์ต่างๆในเรื่องการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้มีความรู้ความแม่นยำในเนื้อหาให้มากยิ่งขึ้น
3. ครูควรเตรียมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ล่วงหน้า และเตรียมสถานที่ตลอดจนสื่อต่างๆให้พร้อมก่อนใช้ชุดการเรียนรู้
4. ครูต้องเตรียมสื่อต่างๆที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผน
5. ครูควรตรวจวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในชุดการเรียนรู้ให้เรียบร้อยทั้งก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้
6. ครูควรแนะนำให้นักเรียนอ่านทำความเข้าใจคำแนะนำสำหรับนักเรียน
ให้เข้าใจ
7. ในขณะนักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ครูควรให้การดูแลอย่างทั่วถึง และให้คำแนะนำกรณีที่นักเรียนไม่เข้าใจในกิจกรรมต่างๆ และพยายามกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองให้มากที่สุด
8. หลังจากเรียนจบแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ครูและนักเรียนควรร่วมกันสรุปผลการใช้ชุดการเรียนรู้ตลอดจนปัญญาและข้อเสนอแนะ หลังการใช้ชุดการเรียนรู้ แต่ละครั้ง เพื่อนำไปปรับปรุงในการใช้ครั้งต่อไป
คำแนะนำสำหรับนักเรียนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย
เอกสารประกอบการเรียนรู้ แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สร้างขึ้นนี้ จัดทำขึ้นเป็นนวัตกรรมสำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองและมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนใช้ได้ถูกต้อง โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ถึงความสำคัญในการศึกษาค้นคว้าและเป็น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
1. ชุดการเรียนรู้นี้ นักเรียนสามารถเรียนตามความสามารถ มีกิจกรรมให้นักเรียนทำ มีเนื้อหาให้นักเรียนอ่าน คำถามและเฉลย
2. นักเรียนควรทำความเข้าใจก่อนว่า ชุดการเรียนรู้ไม่ใช่การทดสอบ แต่มุ่งให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ
3. นักเรียนควรมีสมาธิและความซื่อสัตย์ต่อตนเองในขณะศึกษาเนื้อหา และปฏิบัติกิจกรรมไม่เปิดดูเฉลยคำตอบก่อน จนกว่านักเรียนจะทำคำถามเสร็จแล้ว จึงค่อยเปิดดูเฉลยคำตอบ
4. ก่อนที่นักเรียนจะศึกษาชุดการเรียนรู้ ควรทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้พื้นฐานและคำถามหรือแบบทดสอบหลังเรียนเมื่อนักเรียนศึกษาบัตรเนื้อหาจบแล้วพร้อมตรวจคำตอบกับเฉลยเพื่อทราบความก้าวหน้าของนักเรียน
5. ก่อนทำนักเรียนควรอ่านเนื้อหาให้เข้าใจให้ดีเสียก่อนและควรทำตามขั้นตอนไม่รีบร้อน ถ้ายังไม่เข้าใจให้ถามครูผู้สอน
6. ขอให้นักเรียนทำด้วยความมั่นใจ ถ้าทำไม่ได้หรือสงสัยพยายามดูเนื้อหาที่ผ่านมาหรือถามครู และคำตอบของนักเรียนสามารถตรวจดูกับเฉลยคำตอบได้ทันทีหลังจากนักเรียนทำกิจกรรมหรือตอบคำถามเสร็จแล้ว
7. เมื่อนักเรียนได้ศึกษาและทราบผลความก้าวหน้าของตนแล้ว ให้เก็บเอกสารหรือสิ่งของต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเรียนให้เรียบร้อย เพื่อพร้อมที่ผู้อื่นจะนำไปศึกษาได้ต่อไป
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ 1
คำแนะนำสำหรับครูการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย 2
คำแนะนำสำหรับนักเรียนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะภาษาไทย 3
แบบทดสอบก่อนเรียน 4
ใบความรู้ 5
ใบงานที่ 1 6
ใบงานที่ 2 7
ใบงานที่ 3 8
ใบงานที่ 4 9
ใบงานที่ 5 10
ใบงานที่ 6 11
ใบงานที่ 7 12
แบบทดสอบหลังเรียน 13
แบบบันทึกคะแนน 14
แบบทดสอบก่อนเรียน
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์ เราสามารถพัฒนาไปสู่การอ่านขั้นตอนใด
ก. การวิพากษ์ ข. การนำไปใช้
ค. การสรุปความ ง. การประเมินค่า
2. การศึกษาประวัติผู้แต่ง มีความจำเป็นอย่างไรต่อการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรม
ก. ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่อ่านชัดเจนยิ่งขึ้น
ข. ช่วยให้ทราบความเป็นมาของเรื่องมากขึ้น
ค. ช่วยให้วิเคราะห์แนวคิดของผู้แต่งได้ง่ายขึ้น
ง. ช่วยให้วิเคราะห์จุดมุ่งหมายในการแต่งเรื่องได้ง่ายขึ้น
3. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกในการวิเคราะห์วิจารณ์
ก. หาความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นให้มาก ที่สุด
ข. อ่านเรื่องนั้นอย่างถี่ถ้วน แล้วหาแนวคิดหลักหรือแก่น
ของเรื่อง
ค. หาความรู้เกี่ยวกับประเภทและลักษณะของหนังสือ เรื่องนั้นให้เข้าใจ
ง. ตั้งคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือข้อเท็จจริงในเรื่อง แล้วหาคำตอบ
4. ข้อใดเป็นการพิจารณารูปแบบการประพันธ์
ก. ดอกไม้สดแต่งเรื่องผู้ดี
ข. เรื่องผู้ดีเป็นนวนิยายไทย
ค. นวนิยายไทยเรื่องแรกคือเรื่องความไม่พยาบาท
ง. การเขียนนวนิยายไทยได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป
5. “ทุกวันนี้คนที่ตำน้ำพริกกินนั้นน้อยลงไปทุกทีแล้ว เพราะฉะนั้นการที่จะรักษาวัฒนธรรมเรื่องน้ำพริกเอาไว้ในครอบครัวก็เห็นจะยากเข้าทุกวัน ผมจึงเห็นว่าทางที่ดีที่สุดต้องเขียนไว้เป็นหนังสือแทนที่จะต้องจดจำกันไว้ด้วยสมอง เพราะจะลืมง่าย” ข้อความนี้บอกอะไรแก่ผู้อ่าน
ก. แก่นของเรื่อง ข. รูปแบบการประพันธ์
ค. จุดมุ่งหมายในการแต่ง ง. องค์ประกอบของเรื่อง 6. การเขียนบันเทิงคดี มีจุดมุ่งหมายอย่างไร
ก. เพื่อความสนุก
ข. เพื่อให้เกิดจินตนาการ
ค. เพื่อให้ข้อคิดคติเตือนใจ
ง. เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
7. ข้อใดกล่าวถึงวรรณคดีได้ถูกต้องที่สุด
ก. หนังสือที่แต่งดีด้วยเนื้อเรื่องและศิลปะการประพันธ์
ข. หนังสือที่สะท้อนภาพชีวิตของคนในสังคมแต่ละสมัย
ค. หนังสือที่แต่งดีตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงสมัยรัชกาล
ที่ 6
ง. หนังสือทั่วไปทุกชนิดที่แต่งดี มีคุณค่าช่วยยกระดับ จิตใจ
ผู้อ่าน
8. หนังสือเรื่องใดไม่ใช่วรรณคดีในบทเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ก. ลิลิตตะเลงพ่าย
ข. มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร
ค. บทละครพูดคำฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา
ง. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
9. คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เป็นงานประพันธ์ประเภทใด
ก. สารคดีเกี่ยวกับแพทย์
ข. ตำราในสาขาการแพทย์
ค. บทร้อยกรองประเภทฉันท์
ง. ตำรายาของแพทย์แผนไทย
10. ผู้วิจารณ์หนังสือ ควรแสดงความคิดเห็นอย่างไร
ก. วิจารณ์ตามข้อเท็จจริง
ข. วิจารณ์เพื่อให้เห็นข้อบกพร่องอย่างชัดเจน
ค. วิจารณ์ในแง่ลบไม่ต้องแสดงความคิดเห็นในแง่บวก
ง. วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เขียน
เฉลย
1. ง 2. ก 3. ค 4. ข 5. ค 6. ก 7. ค 8. ข 9. ข 10. ง
เรื่องการอ่านเพื่อวิเคราะห์วิจารณ์
ชื่อ...............................................................................เลขที่........................
ทดสอบก่อนเรียน
ข้อ ก ข ค ง
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ใบความรู้
การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์
สาระสำคัญ การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวัน และในขณะที่อ่านจะต้องรู้จัก คิด วิเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้เป็นประโยชน์ ดังนั้นผู้เรียนจึงควรฝึกทักษะการวิเคราะห์ วิจารณ์หรือประเมินค่าเรื่องที่อ่านอย่างถูกต้องและมีเหตุผลเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป รวมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
๑. ความหมาย
การอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์ เป็นการอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผลของเรื่อง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่การวิเคราะห์ เป็นการหาคำตอบว่า ข้อความ บทความ ที่อ่านนั้นให้ความรู้เรื่องอะไรบ้าง ข้อเขียนแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างแท้จริง รวมทั้งช่วยพัฒนาสติปัญญา เพราะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายแง่มุมต่างๆ ซึ่งทักษะในการอ่านนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและนำไปในการอ่านเพื่อการประเมินค่าต่อไปได้
การวิจารณ์ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายไว้สองความหมาย คือ
ความหมายที่ ๑ เป็นการให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้มีความรู้เชื่อถือได้ว่ามีความงาม ความไพเราะเพียงใดหรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น วิจารณ์ว่าหนังสือเล่มนี้สะท้อนปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล
ความหมายที่ ๒ เป็นการติชมในความหมายโดยทั่วไปมักใช้คำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น ผู้ชมมักวิพากษ์วิจารณ์ว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้ผู้ชมเบื่อ เป็นต้น
การวิเคราะห์วิจารณ์จึงเป็นการแยกแยะแล้วนำมาวิจารณ์ข้อดีข้อเสีย และประเมินค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการวิเคราะห์วิจารณ์ลักษณะของบทประพันธ์ แล้วแยกแยะส่วนประกอบที่สำคัญและหยิบออกมาแสดงว่าไพเราะงดงามเพียงใด วิเคราะห์ความหมายของบทประพันธ์นั้นๆ ถ้ามีความหมายซ่อนเร้นอยู่ก็พยายามปะติดปะต่อให้พอที่ผู้อ่านจะเข้าใจได้ แสดงหลักศิลปะและแนวความคิดของผู้ประพันธ์ ซึ่งเป็นแนวทางในการแต่งบทประพันธ์ นอกจากนี้จะต้องแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ว่าแต่ละส่วนมีความสำคัญต่อส่วนรวมพียงใด
๒. การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่แต่งดีด้วยเนื้อเรื่องและศิลปะในการประพันธ์ ทำให้ผู้อ่านนั้นได้รับความเพลิดเพลินในการอ่าน ได้ความรู้ เห็นสภาพชีวิตของคนในสังคมโดยแสดงให้เห็นสภาพชีวิตของผู้คนในสมันที่แต่งและเห็นถึงสัจธรรมของมนุษย์ ช่วยยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ซึ่งงานประพันธ์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีนั้นมีทั้งที่แต่งเป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง
คำว่า “วรรณคดี” รู้จักกันอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในโอกาสที่ทรงตั้ง “โบราณคดีสโมสร” ขึ้นเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมการประพันธ์ การศึกษาประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมถึงการประพันธ์กลอนและเรื่องความเรียงร้อยแก้วในภาษาไทยให้ดีขึ้น ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ทรงตั้ง “วรรณคดีสโมสร” ขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อทำหน้าที่พิจารณายกย่องหนังสือว่าเรื่องใดสมควรได้รับการยกย่องว่าแต่งดีจนได้ชื่อว่าเป็นวรรณคดีของชาติ
ปัจจุบันหน่วยงานวรรณคดีสโมสรเลิกล้มไปแล้ว คำว่า “วรรณคดี” จึงหมายถึง หนังสือที่แต่งดีตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๖ หนังสือรุ่นต่อมาแม้จะแต่งดีมาก ก็จัดว่าเป็นวรรณกรรมดีเด่นเท่านั้น
วรรณกรรม หมายถึง หนังสือทั่วๆไปทุกชนิดทุกประเภท มีความหมายรวมถึงจุลสาร วารสาร ปาฐกถา เทศนา สุนทรพจน์ด้วย “วรรณกรรม” จึงมีความหมายกว้างกว่า “วรรณคดี”
๓. ประเภทของวรรณกรรม
วรรณกรรมมี ๒ ประเภท คือ
๑. บันเทิงคดี เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นจากจินตนาการ ไม่เน้นสาระของเรื่อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อ่านสนุก ผู้อ่านจะสนุกหรือไม่ขึ้นอยู่กับตัวผู้อ่านเพราะระดับความสนุกมีหลายระดับ เช่น สนุกในการใช้รสคำ สนุกกับบทบาทหรือพฤติกรรมของตัวละครหรือมีความสุขในอารมณ์เมื่ออ่านจบเรื่อง บันเทิงคดีที่ดีต้องให้ความสนุกเพลิดเพลินเป็นหลัก มีส่วนอื่นๆ เข้ามาเสริมเช่น ให้ความรู้ มีคติเตือนใจ ให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณค่าทางศีลธรรมจรรยา การใช้สำนวนดีเหมาะสม
๒. สารคดี เป็นวรรณกรรมที่เน้นการนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง มีสาระ ปัจจุบันหนังสือหรือสารคดีที่แต่งดีและได้รับการยกย่องจากหน่วยงานต่างๆ ให้เป็นหนังสือดีเด่นที่สมควรได้รับรางวัล เช่น รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน (ซีไรต์) รางวัลจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย สมาคมภาษาและหนังสือ เป็นต้น
๔. ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์
มีขั้นตอนดังนี้
๑. หาความรู้เกี่ยวกับประเภทและลักษณะของหนังสือนั้นๆ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
๒. อ่านหนังสือเรื่องนั้นอย่างถี่ถ้วน หาแนวคิดหลักหรือแก่นของเรื่องที่ผู้เขียนตั้งใจจะสื่อถึงผู้อ่าน
๓. หาความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่อ่านให้มากที่สุดเพื่อให้เข้าใจเรื่องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
๔. ตั้งคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือข้อเท็จจริงในเรื่องแล้วพยายามหาคำตอบให้ได้
๕. ฝึกตั้งคำถามเชิงคาดคะเนเหตุการณ์ที่อ่านโดยมีเหตุผลประกอบ
๖. เรียงลำดับความสำคัญของประเด็นต่างๆ ที่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญและจำเป็นต้องนำมากล่าวในคำวิจารณ์
๗. แยกแยะข้อดีและข้อบกพร่องที่ควรนำมากล่าวถึง
๘. จัดลำดับประเด็นที่จำเป็นต้องวิจารณ์ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นจุดดีและจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขโดยมีเหตุผลหรือข้อมูลประกอบ
๕. หลักการวิเคราะห์วิจารณ์จากการอ่าน
๑. พิจารณารูปแบบการประพันธ์ ว่าเป็นวรรณกรรมประเภทใด เช่น บันเทิงคดีประเภท สารคดี นวนิยาย นิทาน เรื่องสั้น หรือเป็นสารคดีประเภทบทความ ความเรียง ตำราในสาขาวิชาต่างๆ เป็นต้น ส่วนร้อยกรองต้องวิเคราะห์ว่ามีลักษณะคำประพันธ์ประเภทใด เช่น ถ้าเป็นโคลงต้องวิเคราะห์ว่าเป็นโคลงประเภทใด (โคลงกระทู้ โคลงดั้น โคลงสี่สุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ) นอกจากนี้ผู้วิเคราะห์วิจารณ์จะต้องพิจารณาว่ารูปแบบกับเนื้อหาเหมาะสมกันหรือไม่
๒. ศึกษาประวัติผู้แต่ง จุดมุ่งหมายในการแต่งและที่มาของเรื่อง การรู้จักผู้แต่งจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องที่แต่งชัดเจนยิ่งขึ้น การอ่านคำนำจะทำให้เข้าใจจุดประสงค์ในการแต่งและที่มาของเรื่อง แต่ในร้อยกรองผู้แต่งจะบอกจุดประสงค์ในการแต่งไว้ในตอนท้ายเรื่อง การศึกษาประวัติผู้แต่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้แต่งมีความรอบรู้ในเรื่องที่เขียนเพียงใด สามารถถ่ายทอดความรู้ลงไปในบทประพันธ์นั้นๆ ได้ถูกต้องเหมาะสมเพียงใด และจุดมุ่งหมายนั้นสอดคล้องกับวิธีแต่งหรือรูปแบบการแต่งอย่างไร
๓ พิจารณาองค์ประกอบของเรื่องว่าสอดคล้องเหมาะสมกันหรือขัดแย้งกัน เช่นการวิเคราะห์ร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดี ต้องวิเคราะห์โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก การดำเนินเรื่องปมขัดแย้ง การคลี่คลายเรื่องและการจบเรื่อง ตลอดจนวิเคราะห์ถึงการแสดงความคิดเห็นความสอดคล้องสมเหตุสมผล พิจารณาเนื้อเรื่องอย่างละเอียดถึงคุณค่า พฤติกรรมตัวละครเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง การใช้ภาษาเหมาะสมกับระดับบุคคลของบุคคล ส่วนร้อยกรองจะพิจารณาถึงรูปแบบคำประพันธ์ว่า มีรูปแบบที่เหมาะสมกับเนื้อหา เนื้อหาสาระของเรื่องมีคุณค่าในการสร้างความเพลิดเพลิน ประเทืองปัญญา สะเทือนอารมณ์ สะท้อนสังคม ให้ความรู้ ข้อคิด คติเตือนใจ มีความงามด้านวรรณศิลป์ คือ การใช้ถ้อยคำ สำนวนโวหารที่ไพเราะ คมคาย มีกลวิธีในการสร้างภาพพจน์ การใช้คำ และเสียงสัมผัสที่ไพเราะ
๔. พิจารณาเนื้อหา การนำเสนอและพฤติกรรมของตัวละคร ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ สะท้อนภาพชีวิต สะท้อนสภาพสังคมในสมัยที่แต่งอย่างไร
๕. พิจารณาแก่นเรื่อง ว่าผู้แต่งตั้งใจที่จะสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร ผู้แต่งแสดงความคิดเห็น รสนิยม และค่านิยมอย่างไร
๖. การวิจารณ์สรุปด้วยความคิดเห็นของผู้วิจารณ์เอง โดยยกข้อดีให้เห็นก่อนว่าดีอย่างไร แล้วจึงยกข้อบกพร่องว่าบกพร่องอย่างไร จะแก้ไขอย่างไร การวิจารณ์ควรเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ เป็นธรรมมีใจเป็นกลางไม่มีอคติ แล้วประเมินคุณค่าในภาพรวมว่าวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่วิจารณ์นั้นมีคุณค่าควรแก่การอ่านหรือควรค่าแก่การศึกษาอย่างไร ผู้อ่านสามารถนำคุณค่าที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร
วรรณกรรมบางเรื่องอาจมีคุณสมบัติที่ไม่ครบถ้วนตามหลักดังกล่าว ผู้อ่านสามารถวิจารณ์ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยได้เต็มที่ ส่วนวรรณคดีที่มีผู้วิจารณ์มาแล้วและตัดสินแล้วว่าแต่งดี ผู้วิจารณ์อาจเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้วิจารณ์ต้องชี้ให้เห็นว่าดีเด่น หรือบกพร่องอย่างไร
บทความเกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณกรรม
ถ้านักฟังเพลงศึกษาหลักการของเครื่องดนตรีได้ไพเราะ ออกรสออกชาติมากกว่า ไม่ทราบอะไรเลย นักวิจารณ์วรรณกรรมส่วนมากมีความเห็นว่า การวิจารณ์วรรณกรรมที่แสดงออกอย่างเป็นทางการ เริ่มขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นได้จากเริ่มมีการวิจารณ์วรรณกรรมที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร และ เริ่มเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนอย่างแน่นชัด และหลังจากนั้นมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ กล่าวคือ ในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่วรรณกรรมไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก รูปแบบทางการประพันธ์สมัยใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น เริ่มเข้าสู่ความนิยมมากขึ้น มีการแปลวรรณกรรมต่างประเทศมาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ จนกระทั่งมีการพัฒนาเป็นการแต่งเรื่องสั้น และนวนิยายของไทยในสมัยต่อๆ มา การเติบโตของวรรณกรรมสมัยใหม่นี้ควบคู่ไปกับกิจการหนังสือพิมพ์แพร่หลายมากขึ้น
ที่มา : http://www.book.udontham.ac.th/index.php?
บทอ่านร้อยแก้ว
ตอนนี้ผมยืนยันว่า ภาคอีสานปลอดภัยที่สุด ไม่มีรอยร้าวในเปลือกโลก รอยร้าวในเปลือกโลกตอนนี้ ภาคเหนือมีเกือบทุกจังหวัด ลงมาทางจังหวัดตาก กาญจนบุรีตรงนั้นรอยร้าวมากที่สุด ทางภาคใต้จากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปจนถึงระนอง กระบี่ สุราษฎร์ธานี บริเวณนี้ก็มีรอยร้าว ดังนั้นถ้าเกิดจะย้ายเมืองหลวงต้องไปภาคอีสาน ตรงภาคอีสานอยู่ในพื้นที่สูงกว่าน้ำทะเลมาก ไม่ต้องกลัวเรื่องน้ำท่วมถึง
ที่มา : อ่านก่อนถึงวันสิ้นโลก
พระราชกรณียกิจทั้งปวงของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ล้วนเป็นที่ประจักษ์ชัดถึงพระอุตสาหวิริยะปรีชาสามารถเพื่อประโยชน์แก่ปวงประชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์ และการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จึงทำให้เกิดการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ทรงรับการเชิญจากนานาประเทศอย่างมิได้ทรงแสดงความเหน็ดเหนื่อยก็ด้วยพระเจตนารมณ์ถึงคุณานุประโยชน์ทางวิชาการ ซึ่งจะตกแก่ประชาชนชาวไทย
ที่มา : สกุลไทยรายสัปดาห์ ฉบับที่ 3012
บทร้อยกรองประเภทฉันท์
อีทิสังฉันท์ 20
เอออุเหม่นะxxxชิช่างกระไร
ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น
ศึกบ่ถึงและxxxก็ยังมิเห็น
จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ
ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นxxx
มาณวกฉันท์ 8
ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม
หนึ่ง ณ นิยม ท่านทวิชงค์
เมื่ออนุสิฏฐ์ วิทยะยง
เชิญวระองค์ เอกะกุมาร
เธอจระตาม พราหมะณะไป
โดยเฉพาะใน ห้องรหุฐาน
จึ่งพฤฒิถาม ความพิศดาร
ขอธประทาน โทษะและไข
อย่าติคะรู หลู่พจะเลย
ท่านสิเสวย ภัตต์กะอะไร
ในทินะนี้ ดีฤไฉน
พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง
วิชชุมมาลาฉันท์ 8
ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกไภย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน
เหลือจักห้ามปราม ชาวคามล่าลาศน์
พันหัวหน้าราษฎร์ ขุนด่านดำบล
หาฤๅแก่กัน คิดผันผ่อนปรน
จักไม่ให้พล มาคธข้ามมา
สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ 19
จอมทัพมาคธะราษฐ์ธยาตร์พยุหะกรี
ฑาสู่วิสาลี นคร
โดยทางอันพระทวาระเปิดนระนิกร
ไป่รอจะต่อรอน อะไร
เบื้องนั้นท่านคะรุวัสสการทิชะก็ไป
นำทัพชเนนทร์ไท มคธ
ใบงานที่ 1 หลักการอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. การอ่านเพื่อการวิเคราะห์ หมายถึงอะไร
2. การวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน มีความสำคัญอย่างไร
3. การวิจารณ์ หมายถึงอะไร
เฉลย ใบงานที่ 1 หลักการอ่านเพื่อการวิเคราะห์วิจารณ์
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. การอ่านเพื่อการวิเคราะห์ หมายถึงอะไร
การอ่านเพื่อแยกแยะข้อความที่อ่านอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ทราบถึงโครงสร้าง องค์ประกอบ หลักการและเหตุผล
ของเรื่อง จนสรุปได้ว่าแต่ละส่วนเป็นอย่างไร สัมพันธ์กันอย่างไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร เพื่อให้เห็นความ
สัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นๆ
2. การวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน มีความสำคัญอย่างไร
1. ช่วยให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องที่อ่าน
2. ช่วยให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างแท้จริง
3. ช่วยพัฒนาสติปัญญา เพราะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายแง่มุมต่างๆ
3. การวิจารณ์ หมายถึงอะไร
ความหมายที่หนึ่ง คือ การให้คำตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือวรรณกรรม โดยผู้มีความรู้เชื่อถือได้ว่ามีค่า
ความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง
ความหมายที่สอง คือ การติชม
ใบงานที่ 2 การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีในบทเรียนเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี แล้ววิเคราะห์วิจารณ์ตามประเด็นต่อไปนี้
1. รูปแบบการประพันธ์
2. ประวัติของผู้แต่ง
3. จุดมุ่งหมายในการแต่งและที่มาของเรื่อง
4. องค์ประกอบของเรื่อง
5. เนื้อหา
6. พฤติกรรมของตัวละคร
7. แก่นของเรื่อง
8. ข้อคิดเห็นที่มีต่อเรื่อง
ใบงานที่ 3 หลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. บทร้อยแก้วที่เป็นบันเทิงคดี ต่างจากบทร้อยแก้วที่เป็นสารคดีอย่างไร
2. ก่อนที่จะอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว ควรปฏิบัติอย่างไร
3. เสียงอ่านที่เป็นธรรมชาติ มีลักษณะอย่างไร
4. การอ่านอย่างมีลีลาและอารมณ์ มีลักษณะอย่างไร
เฉลย ใบงานที่ 3 หลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
ชื่อ ชั้น เลขที่
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. บทร้อยแก้วที่เป็นบันเทิงคดี ต่างจากบทร้อยแก้วที่เป็นสารคดีอย่างไร
บทร้อยแก้วที่เป็นบันเทิงคดีมุ่งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนานเป็นสำคัญ อาจจะสอดแทรกความรู้ ข้อคิด
คติเตือนใจบ้างเล็กน้อย ส่วนบทร้อยแก้วที่เป็นสารคดีมุ่งให้ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ
2. ก่อนที่จะอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว ควรปฏิบัติอย่างไร
ศึกษาเรื่องที่จะอ่านให้เข้าใจเพื่อให้ทราบถึงสาระสำคัญของเรื่อง อารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียนที่ต้องการ
ให้ผู้อ่านทราบ แล้วแบ่งวรรคตอนเนื้อเรื่องที่จะอ่านให้เหมาะสม
3. เสียงอ่านที่เป็นธรรมชาติ มีลักษณะอย่างไร
เสียงอ่านที่เป็นธรรมชาติมีลักษณะเหมือนเสียงพูด ไม่ดัดเสียงหรือใช้เสียงแหลมเกินไป การเน้นเสียงสูง ต่ำ
หนัก เบา ให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยสอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน
4. การอ่านอย่างมีลีลาและอารมณ์ มีลักษณะอย่างไร
การอ่านที่เน้นคำที่สำคัญและคำที่ต้องการเพื่อให้เกิดภาพพจน์หรือจินตภาพ การเน้นควรเน้นเฉพาะคำ
ไม่ใช่เน้นทั้งวรรคหรือทั้งประโยค
ใบงานที่ 4 กลวิธีการอ่านบทร้อยกรอง
ชื่อ ชั้น เลขที่
ตอนที่ 1
คำชี้แจง ให้นักเรียนนำคำที่กำหนดเขียนลงในตาราง
เพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน เสภา ลำนำสู่ขวัญ สรภัญญะ เพลงไทยเดิม
ลำนำกล่อมช้าง โอ้เอ้วิหารราย เพลงไทยลูกทุ่ง เพลงปฏิพากย์
วิธีการอ่าน ประเภทของบทร้อยกรอง
การขับ
การร้อง
การว่า
การสวด
ตอนที่ 2
คำชี้แจง ให้นักเรียนอธิบายศิลปะการใช้เสียงในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
1. การหลบเสียง
2. การเอื้อนเสียง
3. การครั่นเสียง
4. การครวญเสียง
5. การกระแทกเสียง
เฉลย ใบงานที่ 4 กลวิธีการอ่านบทร้อยกรอง
ชื่อ ชั้น เลขที่
ตอนที่ 1
คำชี้แจง ให้นักเรียนนำคำที่กำหนดเขียนลงในตาราง
เพลงไทยสากล เพลงพื้นบ้าน เสภา ลำนำสู่ขวัญ สรภัญญะ เพลงไทยเดิม
ลำนำกล่อมช้าง โอ้เอ้วิหารราย เพลงไทยลูกทุ่ง เพลงปฏิพากย์
วิธีการอ่าน ประเภทของบทร้อยกรอง
การขับ เสภา ลำนำสู่ขวัญ ลำนำกล่อมช้าง
การร้อง เพลงไทยสากล เพลงไทยลูกทุ่ง เพลงไทยเดิม
การว่า เพลงพื้นบ้าน เพลงปฏิพากย์
การสวด สรภัญญะ โอ้เอ้วิหารราย
ตอนที่ 2
คำชี้แจง ให้นักเรียนอธิบายศิลปะการใช้เสียงในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง
1. การหลบเสียง
การเปลี่ยนเสียงหรือหักเสียง หลบจากเสียงสูงไปเสียงต่ำ เมื่อไม่สามารถออกเสียงที่สูงเกินไปได้
2. การเอื้อนเสียง