LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน
         โรงเรียนวัดสวนพิกุล อำเภอถ้ำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อผู้ประเมิน    นายปรีชา จันเอียด
ตำแหน่ง        ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนวัดสวนพิกุล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ปีที่รายงาน        2563

บทสรุปผู้บริหาร

    การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโรงเรียนวัดสวนพิกุลในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความมีวินัย 2. ด้านความรับผิดชอบ 3. ด้านความซื่อสัตย์ 4. ด้านความกตัญญูกตเวที 5.ด้านความมีเมตตา กรุณา 6. ด้านความประหยัดและ 7. ด้านความภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งได้ดำเนินการจัดกิจกรรม จำนวน 4 กิจกรรม คือกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมค่ายคุณธรรม กิจกรรมเจริญธรรมเจริญใจในวันพุธ และ กิจกรรมต้นกล้าความดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการและความจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงาน 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูผู้สอน
    การประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ประชากรที่ใช้ ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ครู จำนวน 6 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 47 คน และผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 47 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ที่ผู้ประเมินได้สร้างขึ้น ข้อคำถามเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90-0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC หาความตรงเชิงเนื้อหา และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการปรากฏ ดังนี้
    1. ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด
    2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านความต้องการและความจำเป็นในการจัดทำโครงการ ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ และตัวชี้วัดในด้านความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
    3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากทั้งตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ ความเหมาะสมของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่
    4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากทุกตัวชี้วัดทั้งตัวชี้วัดการวางแผน การดำเนินงาน การติดตามประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา
    5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด ทั้งตัวชี้วัดร้อยละของนักเรียนที่ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา และความพึงพอใจของครู
    ข้อเสนอแนะ
    การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดสวนพิกุล ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย ประกอบด้วย ครูผู้สอน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง จากผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดสวนพิกุล จะเห็นได้ว่าควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้อง มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1. จากผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ในเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้บริหารจึงควรส่งเสริมการสร้างความพึงพอใจ สร้างแรงบันดาลใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสามัคคีในการร่วมกันพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อม คือ ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู เพื่อให้เกิดความพึงพอใจร่วมกัน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของนักเรียนอย่างแท้จริง
    2. จากผลการประเมินในประเด็นปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความเพียงพอของงบประมาณ ที่ใช้ในการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้บริหารจึงควรระดมทรัพยากรและงบประมาณจากภาคส่วนต่างๆ นอกเหนือจากเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมให้เพียงพอและเหมาะสมกับการทำกิจกรรม และควรสร้างขวัญกำลังใจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
    3. จากผลการประเมินในประเด็นกระบวนการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การประสานงานให้เกิดความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง ในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบโครงการและกิจกรรมตามความรู้ความสามารถและความถนัด เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะในรูปแบบต่างๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกหรือพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือ และติดตามผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นและหลากหลายเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
    4. จากผลการประเมินในประเด็นผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ มากที่สุด นักเรียน ผู้ปกครอง และครู มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมาก จึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการและสภาพปัญหาของนักเรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และครู และเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^