LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน : นางสาวฉัตรตรา เกตุธนวิชญ์
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านช้างเผือก
ปีที่ประเมิน : 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการนำเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนบ้านช้างเผือก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินโครงการตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) โดยมีวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อประเมินบริบท (Context evaluation) เกี่ยวกับความต้องการ ความเหมาะสมและสอดคล้อง ของวัตถุประสงค์และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการดำเนินการตามโครงการ เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation) เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงานและการนิเทศติดตามและประเมินผลตามโครงการ เพื่อประเมินผลผลิต (Product evaluation) เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการโดยรวมความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองต่อการดำเนินงานตามโครงการเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ชุดโดยสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Co - efficient Alpha) ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบทโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45 S.D. = .62) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย และมีความเป็นไปได้ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากสุดคือ ความต้องการของโครงการ ( = 4.51 S.D. = .58) และข้อทีมีผลประเมินน้อยสุด คือความจำเป็นของโครงการ ( = 4.27, S.D. = .76)
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.34 S.D. = .68) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า มีความเหมาะสมเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ความเหมาะสมของงบประมาน ( = 4.35, S.D. = .66) และข้อที่มีผลประเมินน้อยสุดคือ ความเหมาะสมของกิจกรรม( = 4.32, S.D. = .66)
3. การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37 S.D. = .65) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด. ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ การวางแผนการดำเนินงานของโครงการ( = 4.44, S.D. = .61) และข้อประเมินที่มีผลน้อยสุดคือ การดำเนินการโครงการ( = 4.29, S.D. = .69)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53 S.D. = .60) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4.1 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50 S.D. = .62) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการ ( = 4.60, S.D. = .56) และข้อที่มีผลประเมินน้อยที่สุดคือคือ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม( = 4.43, S.D. = .65)
4.2ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนบ้านช้างเผือก โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก( = 4.32 S.D. = .66) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของโรงเรียนบ้านช้างเผือก ประสบความสำเร็จ เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ นักเรียนปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านสิ่งแวดล้อม ( = 4.48, S.D. = .59) และข้อที่มีผลประเมินน้อยที่สุดคือ นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ ( = 4.25, S.D. = .69)
4.3 ผลการประเมินด้านความพึงพอใจผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68 S.D. = .49) ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ข้อที่มีผลการประเมินมากที่สุด คือ นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ( = 4.82, S.D. = .38) และข้อที่มีผลประเมินน้อยที่สุดคือคือ นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ( = 4.52, S.D. = .59)










ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^