LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตน

usericon

ชื่อผลงานทางวิชาการ    การประเมินโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของ
                เศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
ผู้วิจัย                ว่าที่เรือตรีศุภวัฒน์ เทียมศรีรัชนีกร
ตำแหน่ง         ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี
ปีการศึกษา            2563

บทคัดย่อ

    การประเมินโครงการส่งเสริมการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์ จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท เกี่ยวกับความเหมาะสม ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความเหมาะสม ความพร้อมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร และวิธีดำเนินการตามโครงการ 3) ประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของการดำเนินการตามโครงการที่ปฏิบัติจริง 4) ประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลการดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และผลสำเร็จของโครงการในส่วนปรับขยายด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครอง จำนวน 340 คน และนักเรียน จำนวน 340 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 702 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการประเมินโครงการ พบว่า
    1. ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจนและนำไปสู่การปฏิบัติได้ วิธีการดำเนินการและระยะเวลาดำเนินการมีความเหมาะสมและปฏิบัติจริงได้ และเป้าหมายของโครงการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน
    2. ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ พื้นที่และอุปกรณ์ประกอบกิจกรรมเหมาะสมเพียงพอกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ บุคลากรในโรงเรียนให้ความร่วมมือปฏิบัติงานในการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี และโรงเรียนได้รับความร่วมมือจากชุมชน ในการดำเนินโครงการ
    3. ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การกำหนดกิจกรรมโครงการเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของสถานศึกษา โรงเรียนเผยแพร่ความรู้จากการจัดกิจกรรมและขยายผลการปฏิบัติกิจกรรมสู่ชุมชน และมีการนิเทศกำกับ ติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงพัฒนาโครงการอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากและในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การดำเนินงานโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง และสถานศึกษามีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีด้านการบริหารจัดการและรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม ตามความคิดเห็นของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล จากการสังเกตพฤติกรรมของครูผู้รับผิดชอบโครงการ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้เรียนเรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนรู้จักการออมเงินและใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด และผู้เรียนมีความสุขในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และตามความคิดเห็นของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเลือกประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โรงเรียนจัดกิจกรรมเหมาะสมกับวัยและตรงกับความต้องการของผู้เรียน และนักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและสามารถแบ่งเบาภาระครอบครัว        
        4.1 ด้านผลกระทบ โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า โรงเรียนได้รับการยอมรับและมีความเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางบวก ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาและระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาตนเองหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม
        4.2 ด้านประสิทธิผล โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ มาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
        4.3 ด้านความยั่งยืน โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปประกอบอาชีพในอนาคต ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนรู้จักปรับตัวและมีทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีพื้นฐานในอาชีพที่ตนถนัดและสนใจเพื่อนำไปสู่ความเชี่ยวชาญในอนาคต
        4.4 ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยรวมมีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมาก ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง พบว่า ผลความสำเร็จของกิจกรรมในโครงการสามารถถ่ายทอดเพื่อเป็นต้นแบบในการประกอบอาชีพ ผู้เรียนระดับชั้นอนุบาล พบว่า ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมสู่เพื่อนและครอบครัว ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นต้นแบบแก่เพื่อน ๆ ในชั้นเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^