LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านบึงเจริญ อำเภ

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการอ่าน โรงเรียนบ้านบึงเจริญ อำเภอบ้านกรวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ผู้รายงาน    นายปรมะ ทอนศรี
ปีที่ศึกษา    ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ
    การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนบ้านบึงเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2
ปีการศึกษา 2563 ในด้านบริบท 2) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการส่งเสริมการอ่าน
ของโรงเรียนบ้านบึงเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในด้านปัจจัยพื้นฐาน 3) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการส่งเสริมการอ่านของโรงเรียน
บ้านบึงเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินสภาพการบริหารงานโครงการส่งเสริมการอ่านของโรงเรียนบ้านบึงเจริญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ปีการศึกษา 2563 ในด้านผลผลิต
    ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 51 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 51 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการอ่าน
2) แบบประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานของโครงการส่งเสริมการอ่าน 3) แบบประเมินด้านกระบวนการโครงการส่งเสริมการอ่าน 4) แบบประเมินด้านผลผลิตโครงการส่งเสริมการอ่านประกอบด้วย เครื่องมือ 6 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่าน ประกอบด้วย 1) แบบประเมินกิจกรรมว่างจากงานอ่านทุกคน 2) แบบประเมินกิจกรรมเสียงตามสาย 3) แบบประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมวันสำคัญ 4) แบบประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่าน กิจกรรม เพื่อนช่วยเพื่อนรักการอ่านด้วยหนังสือเล่มเล็ก 5) แบบประเมินกิจกรรมโครงการส่งเสริม
การอ่าน กิจกรรมอ่านบทเพลงสู่งานเขียน ฉบับที่ 2 แบบประเมินพฤติกรรมนิสัยรักการอ่าน ฉบับที่ 3
แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียนในการเรียนที่เกิดจากโครงการส่งเสริมการอ่าน ฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฉบับที่ 5 แบบประเมินความพึงพอใจของครูและผู้ปกครองต่อกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ฉบับที่ 6 แบบบันทึกการเปรียบเทียบผลการเรียน
ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 เครื่องมือมีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาระหว่าง 0.79-0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.73-0.75
    การประเมินสรุปผล ดังนี้
        1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 9 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 2 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 การกำหนดหลักการของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและนโยบายของโรงเรียน และข้อ 3 การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับปัญหาและหลักการของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ลำดับที่ 2 คือ ข้อ 1 การกำหนดหลักการของโครงการสอดคล้องกับสภาพปัญหา และ ข้อ 4 การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการสามารถปฏิบัติได้
มีค่าเฉลี่ย 4.73 ลำดับที่ 3 ข้อ 5 การกำหนดเป้าหมายของโครงการสอดคล้องกับปัญหาและวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 10 มีสภาพแวดลอมภายในโรงเรียนเหมาะสมและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการมีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเหมาะสมและส่งเสริมการดำเนินงานโครงการ และข้อ 11 การเตรียมการภายในของสถานศึกษาส่งเสริมการดำเนินงานตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยพื้นฐานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54 โดยรวม เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ข้อ อยู่ในระดับมาก จำนวน 5 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 4 มีครู บุคลากรรับผิดชอบโครงการเพียงพอ และขอ 12 มีนโยบายและวิสัยทัศน์ในการสนับสนุน มีค่าเฉลี่ย 4.80 ลำดับที่ 2 ข้อ 6 สื่อที่จำเป็นในการดำเนินงานโครงการเพียงพอ และข้อ 7 อาคาร สถานที่ในการดำเนินงานโครงการเพียงพอมีค่าเฉลี่ย 4.73 ลำดับที่ 3
ข้อ 5 วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานเพียงพอ มีค่าเฉลี่ย 4.67 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อ 13
มีงบประมาณสนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ย 4.30
        3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.66 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 7 ข้อ อยู่ในระดับ มาก 5 ข้อ และมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 10 มีปฏิทินการนิเทศภายใน และข้อ 11 มีการประเมินการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.80 ลำดับที่ 2
ข้อ 1 คำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.73 ลำดับที่ 3 ข้อ 9 มีการให้คำปรึกษาแนะนำ มีค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ข้อ 2 มีแผนภูมิการบริหารงาน มีค่าเฉลี่ย 4.33 และขอ 7
การนิเทศ ควบคุม กำกับและตรวจสอบการทำงาน มีค่าเฉลี่ย 4.33
        4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมการอ่าน กิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.45 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มาก ทุกกิจกรรม และกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ลำดับที่ 1 กิจกรรมวันสำคัญ มีค่าเฉลี่ย 4.50 ลำดับที่ 2 กิจกรรมว่างจากงานอ่านทุกคน มีค่าเฉลี่ย 4.49 ลำดับที่ 3 กิจกรรมเสียงตามสาย มีค่าเฉลี่ย 4.47 ส่วนกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
รักการอ่านด้วยหนังสือเล่มเล็ก มีค่าเฉลี่ย 4.38
            4.1 ผลการประเมินกิจกรรมว่างจากงานอ่านทุกคน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก
มีค่าเฉลี่ย 4.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 6 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 5 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 1
ใช้เวลาว่างในการอ่าน และข้อ 2 อ่านเพราะนักเรียนสนใจครูไม่ได้บังคับ มีค่าเฉลี่ย 4.73 ลำดับที่ 2
ข้อ 11 นักเรียนมีความสนใจในการอ่านเพิ่มมากขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.67 ลำดับที่ 3 ข้อ 6 อ่านเพื่อหาความบันเทิง มีค่าเฉลี่ย 4.60 และข้อที่มีค่าเฉลี่ยตำที่สุดคือ ข้อ 8 มีการบันทึกการอ่านตามความสนใจ และข้อ 10 ครูประจำชั้นรายงานการอ่านให้ผู้บริหารโรงเรียนทราบ มีค่าเฉลี่ย 4.26
            4.2 ผลการประเมินกิจกรรมเสียงตามสาย โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.46 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 5 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน
8 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 1 ใช้เวลา
ได้เหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.73 ลำดับที่ 2 ข้อ 3 เป็นรายการที่น่าสนใจ และข้อ 12 มีตาราง
ในการออกอากาศ มีค่าเฉลี่ย 4.67 ลำดับที่ 3 ข้อ 2 นักเรียนให้ความสนใจในการฟังเสียงตามสาย
มีค่าเฉลี่ย 4.60 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยตำที่สุดคือ ข้อ 5 นักเรียนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกเนื้อหาสาระ
มาออกอากาศ และข้อ 6 นักเรียนมีส่วนร่วมในการเขียนบทสรุป มีค่าเฉลี่ย 4.26
            4.3 ผลการประเมินกิจกรรมวันสำคัญ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 6 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 5 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 3 กิจกรรมน่าสนใจ และ ข้อ 5 เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.67 ลำดับที่ 2 ข้อ 1 เลือกวันสำคัญไดเหมาะสม ข้อ 8 นักเรียนมีความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม และ ข้อ 10 นักเรียนเห็นความสำคัญของวันสำคัญ มีค่าเฉลี่ย 4.60 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 11 นักเรียนสามารถสรุปองค์ความรู้จากวันสำคัญได้
มีค่าเฉลี่ย 4.26
            4.4 ผลการประเมินกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนรักการอ่านด้วยหนังสือเล่มเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.43 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 3 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 8 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 1 ใบกิจกรรมมีคำชี้แจงรายละเอียดการทำหนังสือเล่มเล็กทั้งอุปกรณ์วิธีการและการประเมินผล มีค่าเฉลี่ย 4.70 ลำดับที่ 2 ข้อ 8 นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำหนังสือเล่มเล็ก มีค่าเฉลี่ย 4.60 ลำดับที่ 3 ข้อ 7 มีการนำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ
ข้อ 11 นักเรียนมีความสนใจในการอ่านเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.53 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 10 ความสามารถในการเขียนสื่อความ มีค่าเฉลี่ย 4.13
            4.5 ผลการประเมินกิจกรรมเรียนรู้งานเขียนด้วยบทเพลง โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.40 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 2 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 8 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 1 นักเรียนเรียนรู้จากคำชี้แจงและจากตัวอย่างด้วยความเข้าใจ มีค่าเฉลี่ย 4.60 ลำดับที่ 2 ข้อ 9 นักเรียนมีความสนใจในการอ่านเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.53 ลำดับที่ 3 ข้อ 2 การเลือกอ่านบทเพลง
อย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.47 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 4 การวิเคราะห์บทเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.20
            4.6 ผลการประเมินนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย 4.55 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 6 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 4 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2
ให้ความสำคัญของการอ่าน และ ข้อ 4 อ่านอย่างต่อเนื่องทุกวัน มีค่าเฉลี่ย 4.73 ลำดับที่ 2 ข้อ 1 สนใจการอ่าน ข้อ 3 ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการอ่าน และข้อ 5 อ่านหนังสือได้หลายประเภท
มีค่าเฉลี่ย 4.67 ลำดับที่ 3 ข้อ 8 อ่านข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ย 4.62 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ
ข้อ 6 ใช้เวลาในการอ่านเพิ่มขึ้น มีค่าเฉลี่ย 4.33

            4.7 ผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนในการเรียนที่เกิดจากโครงการส่งเสริม
การอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.46 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 7 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 8 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมาก
ไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 15 นำการอ่านมาเป็นกิจวัตรประจำวัน มีค่าเฉลี่ย 4.68
ลำดับที่ 2 ข้อ 14 นักเรียนมีสมุดบันทึกการอ่าน มีค่าเฉลี่ย 4.61 ลำดับที่ 3 ข้อ 1 เข้าเรียนตรงเวลา
มีค่าเฉลี่ย 4.58 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 12 อ่านทบทวนบทเรียนเมื่อมีเวลาว่าง มีค่าเฉลี่ย 4.23
            4.8 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมโครงการส่งเสริม
การอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 8 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 8 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 8 ความพึงพอใจต่อเครือข่ายส่งเสริมการอ่านภายใน มีค่าเฉลี่ย 4.67 ลำดับที่ 2 ข้อ 10 ความพึงพอใจกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 3 ข้อ 1 ปริมาณของกิจกรรมโครงการเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.60 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 7 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ย 4.21
            4.9 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 10 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 6 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมากไปน้อย
3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 กิจกรรมตรงกับความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 2 ข้อ 10
ความพึงพอใจกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน มีค่าเฉลี่ย 4.64 ลำดับที่ 3 ข้อ 1 ปริมาณของกิจกรรมโครงการเหมาะสม และข้อ 6 การมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าเฉลี่ย 4.60 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ
ข้อ 7 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ย 4.21
        4.10 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อกิจกรรมโครงการส่งเสริมการอ่าน โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด จำนวน 9 ข้อ อยู่ในระดับ มาก จำนวน 7 ข้อ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเรียงลำดับจากมาก
ไปน้อย 3 ลำดับ คือ ลำดับที่ 1 ข้อ 2 กิจกรรมตรงกับความต้องการ มีค่าเฉลี่ย 4.65 ลำดับที่ 2 ข้อ 10 ความพึงพอใจกิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน มีค่าเฉลี่ย 4.64 ลำดับที่ 3 ข้อ 6 การมีส่วนร่วมของชุมชน มีค่าเฉลี่ย 4.60 ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ข้อ 7 การมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่นการมีส่วนร่วมของหน่วยงานอื่น มีค่าเฉลี่ย 4.20
            4.11 ผลการเปรียบเทียบร้อยละคะแนนสอบปลายปีของนักเรียนในปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.54 เรียงลำดับดังนี้ ลำดับที่ 1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ย
ร้อยละเพิ่มขึ้น 2.35 ลำดับที่ 2 สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 1.97 ลำดับที่ 3 สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 0.69 ลำดับที่ 4 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น 0.69

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^