การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็ม
ชื่อผู้วิจัย นางสาวเขมจิรา สุนทร
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ติดต่อ โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) เทศบาลเมืองชะอำ
อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปีที่ทำวิจัย 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิด เชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 และ (4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 28 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ(ชะอำวิทยาคาร) อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการวิจัย
1. ครู และนักเรียนมีความเห็นว่าจำเป็นและต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด การตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้และความสอดคล้องของรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าดัชนีความสอดคล้องสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( IOC 0.50 )
3. ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ 1) ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิดพื้นฐานของการเรียนการสอน 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้ 4) แหล่งการเรียนรู้ 5) การประเมินการเรียนการสอน โดยในองค์ประกอบที่ 3 เนื้อหา/กิจกรรมการเรียนรู้ ใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 10 แผน เวลา 20 ชั่วโมง มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นให้สนใจด้วยปัญหา 2) ขั้นเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนา 3) ขั้นศึกษาวางแผนปฏิบัติการ 4) ขั้นสานต่อผลงานอย่างสร้างสรรค์ 5) ขั้นวิพากษ์ วิจารณ์และสรุปพลัน และ 6) ขั้นครบครันแนวทางพัฒนาและแก้ไข
4. นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยเท่ากับ 25.68 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.60 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. นักเรียนมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนทดสอบการคิดเชิงวิทยาศาสตร์เฉลี่ยเท่ากับ 26.18 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.26 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
6. ระดับความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมทั้งด้านรูปแบบของกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และด้านความพึงพอใจ มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับความเหมาะสมมาก