การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทาง ภาษาด้านการฟังและการพูดโดยรวมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้ปริศนาค าทาย และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด โดยแยกรายด้านของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ปริศนาค าทาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4 - 5 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๕ (พหลโยธินรามินทรภักดี) สังกัดเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัด ราชบุรี จ านวน 39 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจงจากห้องเรียนที่ผู้วิจัยเป็นผู้สอนเอง ใช้เวลาทั้งหมด 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน ทุกวันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัสบดีของสัปดาห์ วันละ 20 นาที รวม ระยะเวลาทั้งสิ้น 24 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ ปริศนาค าทายและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ซึ่งมีค่าดัชนี ความสอดคล้องของข้อค าถามกับจุดประสงค์ IOC อยู่ระหว่าง 0.80 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.9688 การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One - Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ า (One-Way Repeated ANOVA) และ Partial ŋ2 ผลการวิจัย พบว่า ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ปริศนาค าทาย เด็กปฐมวัยมีระดับ คะแนนความสามารถด้านการฟังและการพูดแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง โดยรวม (F=2.820E3) และรายด้านคือ ด้านการเข้าใจความหมายของค า (F=393.973) ด้านการ ปฏิบัติตามค าสั่ง (F=2.964E3) ด้านการบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ (F=950.000) ด้านการแต่งประโยคปากเปล่า (F=1.065E3) และด้านการเล่าเรื่อง (F=756.438) ซึ่งการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์โดยใช้ปริศนา ค าทายส่งผลต่อความสามารถด้านการฟังและการพูด โดยรวมร้อยละ 98.7 (Partial ŋ2 = .987) และ ด้านการเข้าใจความหมายของค าร้อยละ 91.2 (Partial ŋ2 = .912) ด้านการปฏิบัติตามค าสั่งร้อยละ 98.7 (Partial ŋ2 = .987) ด้านการบอกชื่อสิ่งต่าง ๆ ร้อยละ 96.2 (Partial ŋ2 = .962) ด้านการแต่ง ประโยคปากเปล่าร้อยละ 96.6 (Partial ŋ2 = .966) และด้านการเล่าเรื่องร้อยละ 95.2 (Partial ŋ2 = .952)