ขอเผยแพร่ผลงานวิชาการ
ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ”
ผู้วิจัย ณัฐสรัลพร กวีสิริโชติกุล
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง ๑
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ” มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและ ความต้องการรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา แบบทดสอบความรู้ด้านการสร้างหลักสูตรและสัมภาษณ์ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบ แบบทดสอบความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการเรียนในหลักสูตร และสัมภาษณ์ความพึงพอใจ และเจตคติต่อท้องถิ่นของหนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
1) แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้
ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เป็นจุดเด่น คือ การเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ที่เรียกว่า “LAEMDIE” Model
2) รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้
ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย การทำความเข้าใจ (Learning) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis) ร่วมกับการใช้ประสบการณ์ตรง (Experience) การบริหารจัดการ (Management) ร่วมกับจัดทำหลักสูตรและตรวจสอบ (Design) การนำหลักสูตรไปใช้ (Implementation) และการประเมินหลักสูตร (Evaluation)
3) หลังจากรูปแบบไปใช้กับครูโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง ๑ พบว่ามีความรู้ ความเข้าใจและ
มีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองศรีราชา ที่สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นอย่างดี จากผลทดสอบความรู้ด้านการพัฒนาหลักสูตร และผลการประเมินหลักสูตร ของครูในภาพรวมมีอยู่ในระดับมากทั้งหมด สำหรับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบพบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับมาก
4) นักเรียนมีความรู้เรื่องของท้องถิ่น และ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจใน
ระดับมาก ได้รับประสบการณ์ตรงจากผู้รู้ หรือครูภูมิปัญหาท้องถิ่น ซึ่งเป็นความรู้ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงของผู้เรียน และนักเรียนมีความรู้สึกภูมิใจที่ผู้นำที่เก่ง และมีเจตคติที่ดีต่อท้องถิ่นของตนเอง