LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้า

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า
ผู้วิจัย        ทิตย์ณรงค์ มณีวัฒน์
สถานที่    โรงเรียนบ้านตาดข่า
ปีที่พิมพ์    พ.ศ. 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ การนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 2. เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า 3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ องค์ประกอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า โดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมิน ระยะที่ 3 ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า โดยการนํารูปแบบไปใช้กับโรงเรียนบ้านตาดข่า เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ การนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า สภาพปัจจุบัน พบว่า สถานศึกษาเห็นความสําคัญของกระบวนการนิเทศภายใน สภาพปัญหา พบว่า ไม่มีรูปแบบ และวิธีการนิเทศที่ถูกต้อง ขาดรูปแบบการนิเทศภายในที่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนทำให้ทิศทางของการนิเทศภายในไม่ชัดเจน สภาพความต้องการ พบว่า ควรมีรูปแบบการนิเทศภายในที่เป็นระบบมีทิศทางที่ชัดเจน ดำเนินการนิเทศภายในอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน กำหนดปฏิทินในการนิเทศ กำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน ควรจัดทำคู่มือในการนิเทศภายใน และส่งเสริมพัฒนาบุคลากรในรูปแบบที่หลากหลาย
2. ผลการสร้างรูปแบบ ได้รูปแบบที่จัดทําขึ้นมีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 2) วางแผนการนิเทศภายใน 3) การปฏิบัติการนิเทศภายใน 3 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1) ขั้นการวางแผนการจัดการเรียนรู้บทเรียนร่วมกัน 3.2) ขั้นการสอนและสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน 3.3) ขั้นการสะท้อนผลร่วมกัน และ4)การประเมินสรุปและรายงานผล
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันของโรงเรียนบ้านตาดข่า มีผลการใช้เป็นดังนี้ 3.1) ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกคน 3.2) ครูผู้สอนผ่านการประเมินระดับความสามารถในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ตามแนวการพัฒนาบทเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดี ทุกคน 3.3) ครูผู้รับการนิเทศภายในมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการเรียนการเรียนรู้พัฒนาดีขึ้นทุกคน 3.4) ผลการประเมินความสามารถของครูผู้สอนหลังการได้รับการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันอยู่ในระดับมากที่สุด 3.5) ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
ครูผู้สอนได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการทำงานในรูปแบบเดิมๆ ที่เป็นการทำงานโดยลำพัง โดดเดี่ยวไม่มีที่ปรึกษา แตกต่างกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ มีที่ปรึกษาที่ดี มีเพื่อนคู่คิดในการปฏิบัติงาน เป็นมิติใหม่ในการปฏิบัติงาน จากแต่ก่อนเป็นการทำงานโดยลำพัง ได้แลกเปลี่ยนวิธีการการจัดการเรียนการสอนของครูโดยใช้วิธีการสังเกตการสอนในชั้นเรียน การปรับปรุงวิธีการสอนของครูผู้รับการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและการสะท้อนคิด รวมกันระหว่างทีมนิเทศและครูผู้รับการนิเทศอย่างเป็นกัลยาณมิตร ครูผู้สอนมีความสุข มีความประทับใจ ในการทำงานร่วมกัน รู้สึกชื่นชมการทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดบรรยากาศในการทำงานที่มีความสุข เกิดเป็นเครือข่ายที่มีสัมพันธภาพประกอบดีต่อกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่างเป็นกัลยาณมิตร ด้านผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความสนใจในการเรียนมากขึ้นมากกว่ารูปแบบเดิมๆ ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ในหลายๆ ด้าน











ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^