การพัฒนาชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหว
ทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุนีย์ แสงอรุณ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบัง
ปีที่รายงาน 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/ 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบด้านการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังจากการใช้ชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนา การเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 สังกัดกองการศึกษา เทศบาลนครแหลมฉบัง ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 เล่ม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.22 - 0.80 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 - 0.89 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 แบบวัดความสามารถด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกาย มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.76 และค่าความเที่ยงของแบบทดสอบมีค่าระหว่าง 0.66 – 0.90 และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานของคณะกรรมการนานาชาติ หรือ ICSPFT และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.80 ขึ้นไป และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสอนด้วยตนเอง โดยใช้เวลาทดลองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง รวม 18 สัปดาห์ (ไม่นับรวมเวลาที่ใช้ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้ t-test dependent โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เท่ากับ 84.33/ 86.67
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนา การเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. หลังการทดลองใช้ชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนที่เข้าร่วมการทดลองมีความสามารถด้านการรับรู้ภาวะการเคลื่อนไหวของร่างกายสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เข้าร่วมการทดลองมีสมรรถภาพทางกายสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการกระโดดเชือกเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของร่างกายและสมรรถภาพทางกาย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจทุกข้ออยู่ในระดับมากที่สุด