การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน
ผู้วิจัย นายจรัล คำวิชัย ตำแหน่ง ครู
บทคัดย่อ
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (พัฒนาประชาอุปถัมภ์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling unit) จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากทั้งหมด 2 ห้องเรียน เนื่องจากโรงเรียนได้จัดผู้เรียนของแต่ละห้องเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย
การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถสรุปผลได้ดังต่อไปนี้
1. การหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.33/82.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.40 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.14 ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 16.40 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.52 ค่า t-test ก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 22.136 ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าบทเรียนบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนพบว่าความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อบทเรียนออนไลน์ วิชาการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมสำนักงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.75 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.12