LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับน

usericon

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
                                    
นิชนันท์ ทิมทอง    
บทคัดย่อ
    การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน     3) เพื่อเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง เศษส่วน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือผสมผสาน

ผลการวิจัยพบว่า
    1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด        
    2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
    3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

บทนำ
    คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความคิดของผู้เรียน มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผนตัดสินใจแก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิต ประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น คณิตศาสตร์จึงเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 , หน้า 1) อีกทั้งคณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้สมบูรณ์ มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีคุณค่า (สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2545 , หน้า 1)
    สำหรับปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน จากประสบการณ์การสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน อย่างหนึ่งคือ ขาดทักษะในการคิดวิเคราะห์ ไม่สามารถแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ เศษส่วน และทศนิยมที่มีความซับซ้อนได้ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการทดสอบขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (O-Net) ปีการศึกษา 2560 วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบแยกตามมาตรฐานการเรียนรู้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และใช้ การดำเนินการในการแก้ปัญหา ที่มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบค่อนข้างต่ำสะท้อนให้เห็นว่านักเรียนต้อง ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความ เหมาะสม และมีความหลากหลาย ใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตลอดจนสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อ การเรียนรู้ (กรมวิชาการ, 2545, หน้า 191) จากการจัดการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ เนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์มีความยาก ต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์ ฝึกฝน และสติปัญญาเป็นอย่างมาก ทำให้นักเรียน ขาดความสนใจกระตือรือร้น และไม่อยากเรียนคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน มีสาเหตุเกิดจากหลายประการ เช่น ด้านเนื้อหา เนื้อหาที่นักเรียนเข้าใจยากที่สุด คือ เรื่อง เศษส่วนและการประยุกต์ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นโจทย์ปัญหา เศษส่วน ทศนิยมและร้อยละ ต้องใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาในด้านคุณภาพผู้เรียนที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ผู้เรียนยังขาดคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยเฉพาะด้าน การคิดวิเคราะห์ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทั้งคุณลักษณะในด้านความรู้ ความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ, 2554 , หน้า 101 – 102)
    การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์มีวิธีการสอนมากมายแต่ครูผู้สอนต้องรู้จักเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับเนื้อหา เวลา เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมากที่สุด การจัด การเรียนการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams-Achievement Divisions) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้แก่ผู้เรียนได้เรียนรู้ ร่วมกันเป็นกลุ่ม เล็ก ๆ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถแตกต่างกัน โดยที่แต่ละคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการเรียนรู้และในความสำเร็จของกลุ่ม ทั้งโดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแบ่งปันทรัพยากร การเรียนรู้ รวมทั้งการเป็นกำลังใจแก่กันและกัน คนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือคนที่ อ่อนกว่า สมาชิกในกลุ่มไม่เพียงแต่รับผิดชอบต่อการเรียนของตนเองเท่านั้น หากแต่จะต้องร่วม รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม ความสำเร็จแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD : Student Teams-Achievement Divisions) สามารถ นำมาใช้ได้กับการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้นและจะมีประสิทธิผลยิ่งกับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียนในด้านการแก้ปัญหา การกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้การคิดแบบหลากหลาย การปฏิบัติ ภารกิจที่ซับซ้อน การเน้นคุณธรรมจริยธรรม การเสริมสร้างประชาธิปไตยในชั้นเรียน ทักษะทางสังคม การสร้างวินัยความรับผิดชอบร่วมกัน และความร่วมมือภายในกลุ่ม (วัฒนาพร ระงับทุกข์, 2542 , หน้า 34) ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL นั้นเป็นเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาจากเทคนิค KWL ของโอเกิล (Ogle, 1986) ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน คือ นักเรียน ต้องมีความสามารถทางการอ่านก่อนจึงจะสามารถพัฒนาทักษะการอ่านให้มีคุณภาพได้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 K :เรารู้อะไร (What we know) หรือโจทย์บอกอะไรเราบ้าง ขั้นที่ 2 W : เราต้องการอะไรต้องการทราบอะไร (What we want to know) โจทย์ให้อะไรหรือโจทย์บอกอะไรบ้าง ขั้นที่ 3 D : เราทำอะไรอย่างไร (What we do) และหาคำตอบหรือเรามีวิธีการอย่างไรบ้าง ขั้นที่ 4 L : เราเรียนรู้อะไรจากการดำเนินการ ขั้นที่ 3 (What we learned) ซึ่งคือค าตอบสาระความรู้และวิธีการศึกษาคำตอบ (วัชรา เล่าเรียนดี, 2554, หน้า 130) วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้นครูสามารถนำมาใช้จัด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการใช้เทคนิค KWDL ที่ต้องอาศัยทักษะการอ่านเป็นพื้นฐาน ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและพัฒนาทักษะการอ่านให้มีคุณภาพมากขึ้น ช่วยให้เกิดแนวคิดในการอ่านโดยเฉพาะการอ่านเชิงวิเคราะห์ หาคำตอบของคำถามสำคัญ ๆ ต่าง ๆ จากเรื่องนั้น ๆ และเมื่อนำKWDL ร่วมกับการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่พึ่งพา และเกื้อxxxลกัน มีการปรึกษาหารือและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ สามารถตรวจสอบได้สมาชิกกลุ่มต้องใช้ทักษะ การทำงานกลุ่ม และการสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนรู้ร่วมกัน มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงานร่วมกัน ส่งผลดีต่อ การเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงขึ้น และสามารถพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของครูให้มีประสิทธิภาพ (ทิศนา แขมมณี, 2554, หน้า 105 – 106)
    จากสภาพปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความสำคัญในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสนใจนำวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานโดยนำรูปแบบเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL มาแก้ปัญหาดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสพัฒนา ศักยภาพของตนเองและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานขึ้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย
    1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
    2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน        
    3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง เศษส่วน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
    4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน

ขอบเขตของการวิจัย
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและแนวทางในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีขอบเขต ดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
2. ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นปะถมศึกษาปีที่ 5
3. ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน
2. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความรู้และประสบการณ์ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ได้แก่
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p.608) โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม
2. ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 ที่มีความรู้และประสบการณ์ความสามารถเกี่ยวกับการจัดการสอนวิชาคณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive)
    ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีขอบเขต ดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. การตรวจสอบความเหมาะสมของวิธีการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2. การหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ



ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 294 คน จำนวน 8 ห้องเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 กลุ่ม ดังนี้
1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 3 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบรายบุคคล
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบกลุ่มเล็ก
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัด
เทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยการจับสลาก เพื่อทำ การทดลองแบบภาคสนาม
    ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานมีขอบเขต ดังนี้
    ขอบเขตด้านเนื้อหา
    1. ศึกษาผลการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือในการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดย ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน
    2. ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ได้แก่ ประสิทธิภาพของการจัด การเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 254 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำแนกตามห้องเรียนแต่ละห้องเรียน นักเรียนมี ผลการเรียนคละกัน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีขอบเขตดังนี้
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดย ดำเนินการทดลอง และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน
เทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 294 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำแนกตามห้องเรียนแต่ละห้องเรียน นักเรียนมี ผลการเรียนคละกัน
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบความต้องการและแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ มีรายละเอียด ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. วิเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2. ศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยสอบถามจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล แหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
3. ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยสัมภาษณ์ ครูที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้
1. การสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะความต้องการและผลการสัมภาษณ์
2. ร่างรูปแบบและวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน
3. การตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณา เพื่อประเมินความเหมาะสมของการจัดกิจกรรม โดยเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญตรวจพิจารณาตามข้อเสนอแนะ เพื่อให้ข้อเสนอแนะแล้วนำกลับมาปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ต่อไป
4. สร้างและตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเหมาะสม และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญให้สมบูรณ์
5. นำแผนจัดการเรียนรู้ ไปทดลองใช้ (Try-out) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 เป็นโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม จำนวน 42 คน
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 แผน
2. ทำการทดสอบก่อนเรียน โดยก่อนจัดการเรียนรู้ ดำเนินการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้แต่ละแผน ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละเรื่อง
3. ดำเนินการทดลองตามแผนจัดการเรียนรู้
4. เมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผนแล้ว ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้
1. ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบ ก่อนหลัง (One – Group Pretest– Posttest Design) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553, หน้า 144)
2. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้จากการตอบของกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ ระดับความพึงพอใจ โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทียบกับเกณฑ์การประเมินต้องมีค่าเฉลี่ย ของคะแนนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    1. วิเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปใน การสร้างวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการสร้างข้อสรุป
    2. การหาคุณภาพของแบบสอบถาม โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด คัดข้อที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มากกว่า .50 เป็นเกณฑ์ ตัดสินว่าแบบสอบถามข้อนั้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องสามารถนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม มีค่าเท่ากับ .89
    3. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดย หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนจากแบบสอบถาม
    4. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ โดยการนำคำตอบที่ได้รับจากการตอบของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ละคน นำมาสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ ใช้หลักวิเคราะห์ข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulate) คือผู้วิจัยบันทึกข้อมูลสำคัญจากการสนทนาลงในแบบบันทึกข้อมูล พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ข้อมูลไปพร้อมกับการเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือผู้วิจัยต้องวิเคราะห์ และตีความข้อมูลที่ได้ตลอดเวลา ขณะปฏิบัติภาคสนามมีการตรวจสอบความถูกต้องของการสนทนา โดยเมื่อ จบแต่ละประเด็นคำถาม ผู้วิจัยจะอ่านบทสรุป การสนทนาเพื่อให้ผู้ให้ข้อมูลยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ การวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าจะดำเนินการ 3 ประการ คือ การจัดประเภทข้อมูล (Category) การตีความ (Interpretation) และการสรุปความ (Summary)
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปการวิเคราะห์ข้อมูล โดยดำเนินการ ดังนี้
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหา ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียน หาความเหมาะสมและความถูกต้องของการจัดกิจกรรม การเรียน
2. การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา (Content Analysis)
ขั้นตอนที่ 3 การทดลองการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยการทดสอบค่าที (t-test)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินกิจกรรมการเรียนรู้
1. ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยวิเคราะห์จากผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ได้ จากการตอบของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ โดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน เทียบกับเกณฑ์การประเมินโดยควรมีค่าเฉลี่ยของคะแนนตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2553, หน้า 196)
2. ในการปรับปรุงและขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน นั้น ผู้วิจัยนำแผนจัด การเรียนรู้ที่ผ่านการปรับปรุงสมบูรณ์แล้ว ไปเผยแพร่ให้กับครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อไป




สรุปผล
    1. ความเหมาะสมและความถูกต้องของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด        
    2. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.94/81.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
    3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                 4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
อภิปรายผล
    จากการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสาน มีประเด็นที่ควรนำมาอภิปราย ดังนี้     1. การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความต้องการใน การพัฒนาการสอนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก แนวทาง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นไปตามองค์ประกอบที่สร้างขึ้น ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการพัฒนาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร สาระการเรียนรู้การศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำไปจัดทำเป็นแผนจัดการเรียนรู้ โดยได้ผ่านผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขให้มีคุณภาพมากขึ้น กระบวนการออกแบบการสอน อย่างเป็นระบบมีคุณภาพ สามารถช่วยให้ผู้วิจัยสร้างรูปแบบ การสอนที่มีคุณภาพเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้สอดคล้องกับบุญชม ศรีสะอาด (2553, หน้า 19) ที่กล่าวว่า โครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ผู้วิจัยสามารถ ใช้รูปแบบอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ หรือตัวแปรต่าง ๆ ที่มีในปรากฏการณ์ธรรมชาติหรือ ในระบบต่าง ๆ อธิบายลำดับขั้นตอนขององค์ประกอบหรือกิจกรรมในระบบ สอดคล้องกับจอยซ์และเวล (Joyce and Weil, 2009, p.43) ที่กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบไปด้วยเป้าหมายของรูปแบบ ข้อตกลงเบื้องต้นและหลักการสำคัญที่เป็นพื้นฐานของรูปแบบการสอน โครงสร้างของรูปแบบเป็นการอธิบาย ถึงการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ โดยมีลำดับขั้นตอนของกิจกรรม ซึ่งแต่
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^