การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ผู้วิจัย นายอับดุลอาซิส ยาบา
โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลอย่างมีประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมิน, แบบสอบถาม แบบทดสอบ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า
องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดนโยบาย (1) มีการวางแผนการดำเนินงานไว้ในแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ (2) มีการจัดทำประกาศนโยบายและข้อตกลงความร่วมมือในการดำเนินงาน (3) ขาดแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับเขตพื้นที่ และระดับสถานศึกษา (4) มีการพัฒนาบุคลกร การจัดอบรมสัมมนาแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนและการจัดการความรู้ไม่ต่อเนื่องและไม่ทั่วถึง (5) โรงเรียนขนาดเล็ก มีคณะกรรมการดำเนินงานตามนโยบายที่ไม่ครอบคลุม
องค์ประกอบที่ 2 การขับเคลื่อนและสร้างความเข้มแข็ง (1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ใช้คู่มือการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการขับเคลื่อน มีการชี้แจงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรครู ผู้บริหาร (2) มีการจัดตั้งศูนย์บริการสื่อ เทคโนโลยี เอกสารการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมให้กับโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (3) สื่อ อุปกรณ์ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมมีความขาดแคลน (4) การสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนไม่เพียงพอ
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการเรียนรู้ (1) นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมและตั้งใจเรียนพร้อมนักเรียนต้นทาง (2) เอกสารคู่มือแผนการสอน ใบงานและเอกสารด้านการวัดประเมินผล ยังมีจำนวนน้อย ไม่ครบตามเนื้อหา (3) จำนวนครูผู้สอนไม่ครบชั้น ส่วนใหญ่มีโรงเรียนที่ครู 1 คน ต้องรับผิดชอบห้องเรียนที่มากกว่า 1 ห้องเรียน (4) ครูขาดความกระตือรือร้นไม่แนะนำและแก้ปัญหาให้นักเรียน (5) นักเรียนทำกิจกรรมไม่ทันตามโรงเรียนต้นทาง (6) นักเรียนไม่สนใจร่วมกิจกรรมตามบทเรียนและตามแนวทางที่กำหนด
องค์ประกอบที่ 4 การนิเทศและติดตาม (1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีเอกสารคู่มือการนิเทศติดตามผลการดำเนินงาน แต่การแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศติดตามและการกำหนดประเด็นยังไม่ครอบคลุม (2) มีปฏิทินการนิเทศ (3) มีการติดตามและประเมินผล (4) การนิเทศติดตามระดับเขตพื้นที่การศึกษากระทำไม่ต่อเนื่อง (5) โรงเรียนนิเทศภายในไม่สม่ำเสมอ
องค์ประกอบที่ 5 การเมินผลและปรับปรุง (1) มีการจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (2) มีการนำข้อมูลจากการประเมินผลมาปรับปรุง (3) การติดตามผลและประเมินอย่างสม่ำเสมอ (4) ขาดการประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอร่างรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาตามระยะที่ 1 และจากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอร่างเป็นรูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ซึ่งประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสร้างความรู้ ความตระหนักและความเข้าใจ, ระยะที่ 2 จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างเป็นขั้นตอน และระยะที่ 3 พัฒนาการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีประเด็นที่ให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมิน ได้แก่ ประเด็นที่ 1 ความเหมาะสมของรูปแบบ และประเด็นที่ 2 ความเป็นไปได้ของรูปแบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับประเด็นการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ทั้ง 2 ประเด็น คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งหมายถึงรูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล สามารถนำไปใช้ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมของครูกลุ่มทดลองทั้ง 3 คน พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ทุกคน โดยภาพรวมก่อนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อยู่ระดับน้อยและหลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมนักเรียนของครูกลุ่มทดลอง พบว่า มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมสูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ครู 3 คน พบว่า หลังการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ครูมีทักษะการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารจัดการ Thungmai Model เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ทุกคน
2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนของครู 3 คน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียมทุกคนโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01