การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้
โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ผู้วิจัย นายอับดุลอาซิส ยาบา
โรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของระบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 3) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 4) เพื่อประเมินผลการใช้พัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมิน, แบบสอบถาม สถิติที่ ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI Modified)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบระบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์และข้อมูลป้อนกลับและ 15 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) บุคคล 2) งบประมาณ 3) วัสดุอุปกรณ์ 4) การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพเพื่อการอ่านออกเขียนได้ 5) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ การอ่านออกเขียนได้ 6) การประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ การอ่านออกเขียนได้ 7) ครูมีความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร 8) ครูมีความสามารถในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ 9) ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 10) ครูมีความสามารถในการใช้สื่อ เทคโนโลยี 11) ครูมีความสามารถในการวัดผลประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการอ่านออก เขียนได้ 12) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความพึงพอใจต่อระบบพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อ การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 13) นักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ 14) การรายงานผล 15) การปรับปรุงแก้ไข พัฒนา มี ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ของนักเรียนโรงเรียน บ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับ ปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ระบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย 1) การเตรียมการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ 2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และ 3) การ ประเมินผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ ผลการประเมินมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการใช้ระบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นดังนี้
4.1 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ความพึงพอใจ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความพึงพอใจในการใช้ระบบ การพัฒนาสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ เพื่อการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งไหม้ โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านออกเขียนได้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน