รายงานผลการดาเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้ว
นักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนวัดป่าแดง ปีการศึกษา 2563 และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนวัดป่าแดง ปีการศึกษา 2563 ประชากรที่ใช้เป็น ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวน 421 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ (f) ผลการศึกษา การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนวัดป่าแดง ปีการศึกษา 2563 พบว่า มีการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามขั้นตอนกระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA และมีผลการดำเนินงานครอบคลุมครบทั้ง 4 ขั้นตอนของกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ การวางแผนในการดำเนินงาน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา การส่งต่อ การประเมินผลการดำเนินงาน และการสรุปผลเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง โดยได้ดำเนินการครบทุกกิจกรรม และการดำเนินการทุกกิจกรรมมีความสอดคล้อง และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ การดำเนินการตามวงจรคุณภาพ PDCA เป็นไปอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล โดยผู้ปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือชุมชน มีการทำงานร่วมกันโดยผ่านกระบวนการทำงานที่มีระบบพร้อมด้วยเอกสาร หลักฐานการปฏิบัติงาน สามารถตรวจสอบหรือรับการประเมินได้การดาเนินงานโครงการตามมาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน มาตรฐานด้านกระบวนการ และมาตรฐานด้านปัจจัย มีการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก โดยสามารถสรุปข้อที่มีระดับค่าเฉลี่ยในการดาเนินงานมากที่สุดของแต่ละด้าน ดังนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน เมื่อพิจารณารายข้อที่มีการดาเนินงานมากที่สุด คือ มีการส่งเสริมให้นักเรียนกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ มีการส่งเสริมให้นักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสถานศึกษา และ มีการส่งเสริมให้นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม โดยมีการดาเนินงานอยู่ในระดับ มาก มาตรฐานด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณารายข้อที่มีการดาเนินงานมากที่สุดคือ มีการรวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคลด้วยวิธีหลากหลาย และ มีการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) โดยครูที่ปรึกษา ครูประจาชั้น และ ผู้ปกครอง ร่วมกันวางแนวทางในการดูแลช่วยเหลือและพัฒนานักเรียน โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก มาตรฐานด้านปัจจัย เมื่อพิจารณารายข้อที่มีการดาเนินงานมากที่สุด คือ ผู้บริหารมีการสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ครูสามารถปฏิบัติงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนวัดป่าแดง ปีการศึกษา 2563 โดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน พบว่า ในภาพรวมการดำเนินงานอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด โดยความพึงพอใจ ในการที่ทางโรงเรียนมีกิจกรรม การออกเยี่ยมบ้านของครูที่ปรึกษา อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือความพึงพอใจในการที่ทางโรงเรียนมีโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ ความพึงพอใจในการที่ทางโรงเรียนเห็นความสาคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นลำดับรองลงมา
การศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ของโรงเรียนวัดป่าแดง ปีการศึกษา 2563 สามารถสรุปปัญหาและข้อเสนอแนะ ที่มีการให้ข้อมูลมากที่สุด ดังนี้ ไม่พบปัญหาในการดาเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของมาตรฐานด้านคุณภาพนักเรียน มาตรฐานด้านกระบวนการ พบปัญหาคือ การรายงานการนิเทศติดตามการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมต่อการดาเนินงานในแต่ละด้าน ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล รายงานผล และพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและเป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ มาตรฐานด้านปัจจัย ไม่พบปัญหา ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการจัดประชุมผู้ปกครองในเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะผู้ปกครองของนักเรียนที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์