รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์
โรงเรียนวัดคู้ลำพัน
ผู้รายงาน นางสาวปิยะพร วงษ์อุดม
สังกัด โรงเรียนวัดคู้ลำพัน อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดคู้ลำพัน จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดคู้ลำพัน และความพึงพอใจของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนวัดคู้ลำพัน ปีการศึกษา 2563 โดยมีการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนทั้งสิ้น 5 กิจกรรมหลักคือ กิจกรรมประชุมปฏิบัติการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมสังเกตการสอน กิจกรรมสาธิตการสอนและ กิจกรรมให้คำปรึกษา โดยใช้การประเมินโครงการรูปแบบ CIPP Model ได้แก่ การประเมินด้านบริบท (Context) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) การประเมินด้านกระบวนการ (Process) และการประเมินด้านผลผลิต (Product) กลุ่มประชากรที่ใช้ ได้แก่ ครู จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และผู้ปกครอง จำนวน 60 คน รวมกลุ่มประชากรทั้งสิ้น 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการในการประเมินเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows เพื่อคำนวณหาค่าความถี่และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย (MU)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Sigma.)
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินผลด้านบริบท (Context) ของโครงการ ตามความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากข้อที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน/หน่วยงานต้นสังกัด/กระทรวง/รัฐบาลรองลงมา และ เป้าหมายของโครงการเป็นไปตามสภาพแวดล้อม และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินผลด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในการดำเนินของโครงการ กิจกรรมการสังเกตการสอน กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมให้คำปรึกษา และกิจกรรมสาธิตการสอน ตามความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินผลด้านกระบวนการ (Process) ในการดำเนินงานของโครงการ กิจกรรมการประชุมปฏิบัติการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัด กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมการสังเกตการสอน กิจกรรมให้คำปรึกษาและกิจกรรมสาธิตการสอน ตามความคิดเห็นของ ครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลด้านผลผลิต (Product) ของโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ ตามความคิดเห็นของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากข้อที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติสูงขึ้นและผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ครูมีความรู้ความเข้าใจในการสอนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ และ ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนและสามารถที่จะพัฒนาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามลำดับ
5. ความพึงพอใจของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อโครงการนิเทศภายในสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนวัดคู้ลำพัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อปรากฏว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ ครูมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันและให้การยอมรับซึ่งกันและกัน ครูจัดทำผลงานเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ตามลำดับ
6. ผลการดำเนินโครงการนิเทศภายในสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนวัดคู้ลำพัน พบว่า
6.1 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดคู้ลำพัน ปีการศึกษา 2562 – 2563 พบว่าผลการสอบมีคะแนนเฉลี่ยร้อย เพิ่มขึ้น ทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยเพิ่มขึ้น 10.97 รองลงมาคือ ด้านภาษไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อย เพิ่มขึ้น 8.74 ตามลำดับ ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยของการทดสอบปีการศึกษา 2563 สูงกว่า ปีการศึกษา 2562 อยู่ 9.85
6.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1- 6 เปรียบเทียบ ปีการศึกษา2562 กับ ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดคู้ลำพัน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 – 6 โรงเรียนวัดคู้ลำพัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น 7.11 และสูงกว่าเป้าหมายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้