รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์
โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน นางสาวศณีณาถ แซ่ตัน
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stuftlebeam. 1983: 169-179) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 38 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .891 ถึง .949 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83, = 0.32) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.37) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, = 0.38) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านกระบวนการในการ ดำเนินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.77, = 0.35) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57, S.D. = 0.58) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.42) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลผลิตด้านคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมสูงสุด ( = 4.82, = 0.33) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ( = 4.61, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.58, S.D. = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และ การเขียนของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.74, = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง ( = 4.57, S.D. = 0.734) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.82, = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน และผู้ปกครอง ( = 4.59, S.D. = 0.44,0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.57,S.D. = 0.38) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ 4 ลักษณะ โรงเรียนบ้านไทรบ่วง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.77, = 0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.68, S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.58, S.D. = 0.48) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนของนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครู และผู้เกี่ยวข้อง ถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนของนักเรียนและควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนา ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการพัฒนาที่เน้นทักษะ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชนและเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
2. หลังการดำเนินโครงการโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลปลายทางที่ยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นโรงเรียนรักการอ่าน และเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่นได้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น
3. ผู้บริหารควรเป็นที่ปรึกษาหรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรม ในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการอย่างกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้ รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
2. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินของซิปป์ (CIPP Model)