LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเ

usericon

บทความวิจัย
ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง
ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

ดร.วินนารัชน์ ชัยวิทยนันต์*

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ คณะครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ผลจากการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 นั้น คุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด การจะให้การจัดการศึกษาในโรงเรียนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายต้องอาศัยทรัพยากรที่จำเป็น 4 อย่าง คือ คน เงิน วัสดุ การจัดการ ซึ่งการใช้ทรัพยากรทั้ง 4 ให้เกิดประโยชน์ต้องคำนึงถึง 3 หลัก คือ หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิภาพ และหลักประสิทธิผล
    ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 มี 5 ยุทธศาสตร์หลัก 20 ยุทธศาสตร์รอง 20 โครงการ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือต้องมีการพัฒนาระบบวางแผนและการบริหารจัดการเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผลเพื่อการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงให้กับคณะครู ผู้ที่เกี่ยวข้องและชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3




* รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา ๒
ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี



มีการส่งเสริม พัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างความตระหนักถึงภารกิจหน้าที่และการพัฒนาส่งเสริมบุคลากรที่เกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริม และปลูกฝังคุณลักษณะความพอเพียงให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ศึกษาเห็นว่าการจัดทำข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ที่ดี ควรมีทิศทางหรือแนวทางการปฏิบัติเป็นไปตามวิสัยทัศน์ของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ทั้งนี้โรงเรียนสามารถใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการประเมินผลงานประจำปี งบประมาณ และใช้ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เป็นกรอบในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้
คำสำคัญ : ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์, การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



















Strategic proposals for the development of learning resources management
based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency
educational institution criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School

Dr.Winnarat Chaiwittayanan*

Abstract

This is a quantitative study to examine strategic proposals for the development of learning resources management based on the sufficiency economy philosophy under the Sufficiency education criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School. The sample included the faculty members of Nawaminthrachinuthit Satriwithaya 2 School. The results showed that the development of learning resources management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School was of the highest level of quality and achieving the school education management goals requires four essential resources: people, money, materials, and management, where the utilization of all four resources should give an important consideration into three main pillars; equality, effectiveness, and efficiency.
Strategic proposals for the development of the learning resources the management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria of Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School are comprised of five primary strategies and twenty secondary strategies. Namely, Strategy 1: develop the planning and management regarding the promotion of learning resources



*Deputy Director, Senior Professional Level Nawaminthrachinuthit Satriwittaya 2 School
Doctor of Education (Educational Administration) Bangkokthonburi University
the management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria. Strategy 2: develop the understanding of curriculum preparation and learning activities through supervision/monitoring/evaluation for learning resources the management b based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria for academic personnel, stakeholders, and community. Strategy 3: promote and develop a learner assistance system in problem-solving and student development following sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria. Strategy 4: raise awareness of obligations, develop and promote personnel who are responsible for the development of the learning resources management based on the sufficiency economy philosophy under the sufficiency education school criteria. Strategy 5: promote and culture sufficiency attributes among concerned parties to have knowledge and understanding of sufficiency economy philosophy. The author thought that an effective strategic proposal should be comprised of the direction or practice guideline following the vision of learning resources development. In addition, the schools may apply the strategic plan as a framework for annual performance appraisal and budget, and as a framework for formulating an action plan for the annual expenditure budget preparation.

Keywords: Strategic Proposal, Learning Resources Management based on the Sufficiency Economy Philosophy










บทนำ
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรู้ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขนาดเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุระดับให้มีจิตสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี คือ ความสมดุลพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
โดยการเดินทางสายกลางของความพอเพียง นั้นคือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ตามเงื่อนไข 2 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และเงื่อนไขคุณธรรมซื่อสัตย์ อดทน เพียร มีสติ ปัญญา ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 25 ที่กล่าวว่ารัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบและอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพตรงตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ในมาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ว่า “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ” (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552 : 5) เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารการศึกษา 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4) ด้านการพัฒนาบุคลากร 5) ด้านผลลัพธ์
การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดกระบวนการเรียนรู้และสาระที่กำหนด ไว้ในหลักสูตรสถานศึกษา โดยมุ่งเน้นไปที่การจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ และโดยโรงเรียนต้องมีการจัดแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถนำไปประยุกต์กับการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นภารกิจที่โรงเรียนต้องรับผิดชอบ โดยเริ่มจากการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ให้เป็นระบบ วางแผนการใช้แหล่งเรียนรู้ จัดตั้งบุคลากรรับผิดชอบดูแล มีการควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ รวมทั้งแสวงหาแหล่งเรียนรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของครูในฐานะผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ จึงจะทำให้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ, 2551 : 135)
    โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พุทธศักราช 2535 โดยกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้ทำการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้โดยเป็นการนำแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่ภายในโรงเรียนมาปรับใช้กับการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้จากสภาพจริงโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีสภาพแวดล้อมที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล เช่น ครู เพื่อนในห้องเรียน เพื่อนต่างห้องเรียน บุคลากรภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นอาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ ศูนย์อาหารนวมินทราชินูทิศ ร้านกาแฟนวมินทราชินูทิศ ห้องน้า ห้องเรียน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิชาการ ได้แก่ ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสมุด ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องศิลปะ ศูนย์การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เป็นต้นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ ใบไม้ ก้อนหิน ดิน เป็นต้น แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สวนเกษตร สวนสมุนไพร สนาม สวนดอกไม้ สวนหย่อม สวนผักแนวตั้ง เป็นต้นจากการประเมินสถานศึกษาพอเพียงของคณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปีการศึกษา 2562 ณ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 พบว่า ในด้านของผลการประเมินทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากรและด้านผลลัพธ์ อยู่ในระดับ ดีมาก และนอกจากนี้คณะกรรมการจากสำนักงานเขตพื้นที่ ยังได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับในการประเมินรอบต่อไป คือมีด้านใดบ้างที่การพัฒนา สนับสนุนส่งเสริมมีคุณภาพมากขึ้น และจะมีการวางแผนการดำเนินงานเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมในการประเมินสถานศึกษาพอเพียงในครั้งต่อไปอย่างไร
ผู้ศึกษาในฐานะที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 จึงมีความสนใจศึกษาสภาพบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน และกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเตรียมความพร้อมในการประเมินสถานศึกษาพอเพียงในครั้งต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
2. เพื่อหาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
3. เพื่อกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2

วิธีการวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
ประชากร
คณะครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 จำนวนทั้งหมด 105 คน ปีการศึกษา 2562
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คณะครูโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นครูที่รับผิดชอบการนำแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 98 คน
เครื่องมือการวิจัย
ใช้แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์มาตรฐานสถานศึกษาพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านการบริหารการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านผลลัพธ์
ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาเหตุและปัจจัยเพื่อพัฒนาการบริหำรจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตมเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คนหัวหน้างานบุคคล จำนวน 1 คน หัวหน้าวิชาการ จำนวน 1 คน หัวหน้าอาคารสถานที่ จำนวน 1 คน ครูผู้ดูแลรับผิดชอบงานแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามทางที่โรงเรียนแต่งตั้ง จำนวน 1 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง
ขั้นตอนที่ 3 ขั้นการกำหนดข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้โดยซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการงานด้านวิชาการของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และหัวหน้างาน 4 งาน (งานบริหารวิชาการ งานบริหารบุคคล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป) ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง
สรุปผลการวิจัย
    จากผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง สรุปได้ดังนี้
    1. สภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้ดังนี้
        1.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการรายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ ดำเนินการตามแผนงบประมาณของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ ดำเนินการตาม แผนงาน/ โครงการ/กิจกรรม ด้านวิชาการที่ส่งเสริมการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ตามลำดับ
        1.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ มีแผนจัดการเรียนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ มีการนิเทศ/ติดตาม/ประเมินผล การนำหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ
        1.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ แผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมนักเรียน เพื่อให้ผู้เรียน “อยู่อย่างพอเพียง” รองลงมาคือ กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดจิตอาสำและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ มีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถ แก้ปัญหาและพัฒนาตนเองได้อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ
        1.4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ ให้ติดตามผลการดำเนิน โครงการ/กิจกรรมพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ ขยายผลและเผยแพร่ ผลการดำเนินชีวิตและปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากร ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามลำดับ
        1.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ รายการที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่ารายการอื่น ได้แก่ ผู้เรียนปฏิบัติตนให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ในด้านสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ บุคลากรจัดการทรัพยากรและดำเนินชีวิตด้านเศรษฐกิจ อย่างสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่นคือ คุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง ตามลำดับ
        1.6 ในภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียง ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจากรายการ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของระดับความคิดเห็นที่มีต่อคุณภาพการดำเนินงาน ที่ได้มากกว่าด้านอื่น คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองลงมา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยกว่ารายการอื่น คือ ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
    2. ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์คณะครูผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนาการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามเกณฑ์สถานศึกษาพอเพียงทั้ง 5 ด้าน เกี่ยวกับการนาหลักทรัพยากรทางการบริหาร 4 M’s คือ 1) ด้านบุคลากร (Man) 2) ด้านงบประมาณ (Money) 3) ด้านวัสดุอุปกรณ์ (Materials) 4) ด้านการจัดการ (Management) มาบริหารจัดการได้ดังนี้
        2.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
        การบริหารจัดการสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้
            2.1.1 บุคลากรหรือคน (Man) จัดโครงสร้างการบริหารงาน เพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรให้ชัดเจนมีการวางแผนการดำเนินงานโดยมีนโยบายในแผนการปฏิบัติงาน มีการบูรณาการกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนในแผนปฏิบัติงานประจำปี โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการดำเนินการจัดกิจกรรมตามหลักปรัชญาตามแผนงานหรือโครงการพร้อมทั้งมีการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและมีการติดตามผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
            2.1.2 เงินหรืองบประมาณ (Money)โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 ได้มีการกำหนดนโยบายการวางแผนการบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในด้านการจัดทำสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรที่ชัดเจน มีการสนับสนุนด้านอำนวยความสะดวกในเรื่องของงบประมาณ ทำให้เกิดการบริหารงบประมาณได้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ และส่งผลดีต่อการตั้งงบประมาณในการพัฒนาในปี การศึกษาต่อไป สนับสนุนงบประมาณในรูปแบของโครงการ กิจกรรมการพัฒนาการปรับปรุง การบริหารจัดการงบประมาณตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            2.1.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials)    มีการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการ ส่งเสริม สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในการให้บริการการศึกษาทุกรูปแบบ มีการตกแต่งอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            2.1.4 การจัดการ (Management)    มีระบบการบริหารองค์การและแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้พร้อมต่อการบริการสำหรับผู้เรียนหรือบุคคลที่เข้ามาศึกษาดูงานโดยให้ครูมีบทบาทหลักในการประสานส่งเสริมสนับสนุนและการอำนวยการ ดำเนินการตามแผนงานการสอนตามโครงการได้ให้นโยบายให้กับบุคลากรในการสอดแทรกเนื้อหาของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยบริหารงานโดย ดร.กัมพล ไชยนันท์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา และโรงเรียนได้ดำเนินงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
        2.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
        ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้
            2.2.1 บุคลากรหรือคน (Man)
            มีการจัดครูและบุคลากรสนับสนุนในการเรียนการสอน จัดกิจกรรมให้เต็มตามความสามารถของบุคลากร โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกันตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน นักเรียนและครูมีส่วนร่วมกับกิจกรรม มีการใช้สื่อที่ผลิตเองในการสอนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามมาตรฐานการเรียนรู้ มีการดำเนินชีวิตอย่างสมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม มีการจัดครูและบุคลากร สนับสนุนในการเรียนการสอน/ การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามความสามารถของบุคคล
            2.2.2 เงินหรืองบประมาณ (Money)
            สนับสนุนเงินหรืองบประมาณตามกิจกรรม หลักสูตรและการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใช้ตอบรับกิจกรรมในหลักสูตรสถานศึกษาได้ใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและงบประมาณในการผลิตสื่อและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สนับสนุนตามกิจกรรม/หลักสูตร/ และการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้ตอบรับกิจกรรมในหลักสูตรสถานศึกษา
            2.2.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials)
            จัดทำแผนการสอน หลักสูตร กิจกรรมที่ดำเนินการมีการใช้สื่อที่ผลิตเองในการสอนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีการจัดทำเครื่องมือวัดผลประเมินผลโดยใช้วิธีการวัดผลประเมินผลที่มีความหลากหลาย จัดตามแผนหลักสูตร กิจกรรมที่ดำเนินงาน และตกแต่งอาคารสถานที่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
            2.2.4 การจัดการ (Management)
            การวางแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาตามศักยภาพของผู้เรียน การใช้แหล่งเรียนรู้ การดูแล การพัฒนามีทักษะดูแลอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่องได้จัดทำหลักสูตรการเรียนหรือแผนการเรียนรู้บูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการติดตามนิเทศและการประเมินผลบูรณาการการเรียนการสอนสู่ทุกระดับชั้นมีการใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนตามศักยภาพ การเข้าใช้แหล่งเรียนรู้ การดูแลการพัฒนามีการดูแลอย่างใกล้ชิด
        2.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
        ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้
            2.3.1 บุคลากรหรือคน (Man) มีการให้ครูผู้สอนหรือบุคลากรที่รับผิดชอบสนับสนุนอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนให้เต็มความสามารถและจิตอาสำจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนให้เป็นไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ ตามบริบทของโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพ ซึ่งมีการจัดทำหลักสูตร SEZ หลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
            2.3.2 เงินหรืองบประมาณ (Money) จัดสรรงบประมาณให้กับทุกโครงการและทุกกิจกรรมการเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับคณะครูในโรงเรียนในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ มีการตั้งงบประมาณตามแผนงานของโครงการ มีการจัดสรรงบประมาณให้กับทุกโครงการและทุกกิจกรรมการเรียนรู้ มีการจัดงบประมาณตามแผนโครงการ
            2.3.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) สร้างความเข้าใจกับคณะครูในโรงเรียนในเรื่องการจัดสรรวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ จัดตามแผนงานกิจกรรม โครงการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การจัดทำโครงสร้างหลักสูตร SEZ หลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้
            2.3.4 การจัดการ (Management) มีการติดตามในระบบ PDCA จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมด้านอาชีพ ซึ่งมีการจัดทำหลักสูตร SEZ หลักสูตรเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน แต่จะเน้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังวิธีการคิดและการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี บนพื้นฐานของการใช้คุณธรรมนาความรู้
        2.4 ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา
        ด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่งแต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้
            2.4.1 บุคลากรหรือคน (Man)การจัดอบรม สร้างความตระหนักแก่คณะครูในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การให้ความรู้ ความเข้าใจ และให้ปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปพัฒนาให้เข้ากับการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมนำความรู้ และมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้มีคุณภาพ
            2.4.2 เงินหรืองบประมาณ (Money) สนับสนุนงบประมาณในการจัดทำโครงการในสถานศึกษา และงบประมาณในการศึกษาดูงานนอกสถานที่ สนับสนุนให้มีการอบรม หรือจ้างวิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้ด้านงบประมาณควรมีการจัดเตรียมให้เพียงพอต่อการดำเนินงานของบุคลากร มีการเตรียมความพร้อมวางแผนการจัดทำงบประมาณสำหรับการเบิกจ่ายของบุคลากรในการจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของเพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา
            2.4.3 วัสดุ อุปกรณ์หรือสิ่งของ (Materials) มีการควบคุมการทางานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย จัดทำแผนงานการพัฒนางานตามกิจกรรมโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของบุคลากรเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และให้ความสำคัญกับการสร้างขวัญและกำลังใจอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากร เพื่อให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
            2.4.4 การจัดการ (Management) มีการใช้ระบบการตรวจสอบกระบวนการ PDCA ได้จัดทำโครงการที่สร้างให้คณะครูและบุคลากรมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและได้รับการพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาแหล่งเรียนรู้ การดูงานนอกสถานที่ และโรงเรียนยังส่งเสริมให้คณะครูและบุคลากรแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
        2.5 ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จ ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลักทั้ง 4 อย่าง 4 M’s ซึ่ง แต่ละด้านมีความสำคัญแตกต่างกัน ดังนี้
            2.5.1 บุคลากรหรือคน (Man) มีบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^