LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิ

usericon

เรื่องที่วิจัย การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
ผู้วิจัย นายจิรพนธ์ xxxมยิ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง
จังหวัดพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจ
พอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อประเมินกระบวนการ
ดำเนินงานของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัด
พังงา และเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน
อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม
(Context evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน
(Process evaluation) และด้านผลผลิต (Product evaluation) ตามรูปแบบการประเมิน CIPP
Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1967)
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู/บุคลากรและคณะกรรมการ
สถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมหิน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนรวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่
แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด จำแนกตามกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
แบบสอบถามชุด ก. (สำหรับครู/บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา) แบบสอบถามชุด ข.
(สำหรับนักเรียน) และแบบสอบถามชุด ค. (สำหรับผู้ปกครอง) การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้
จำนวน 5 ท่าน
ผลการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.83, SD = 0.77) เมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มากที่สุด (x̅ = 4.87, SD = 0.78) รองลงมาได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
(x̅ = 4.85, SD = 0.77) ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.83, SD = 0.76) และ
ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.79, SD = 0.75) ตามลำดับเมื่อพิจารณาด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้อง
กับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และ
กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการใน
ด้านทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร การดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากันในสามอันดับแรก
เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูหรือวิทยากรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติ
กิจกรรมตามโครงการ สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ
และเนื้อหาการบรรยายมีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากัน
ในสามอันดับแรก
เมื่อพิจารณาด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียน
ได้ลงมือปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
การบูรณาการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมใน
โครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มี
ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
มากที่สุด และนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
ที่สุด ตามลำดั
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^