การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ
for Work) โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ในช่วงสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการ
วิจัยประเภท : การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research)
ปีการศึกษา : 2563
ชื่อผู้วิจัย : นายชนะชัย ทับเกษม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการ
โรงเรียน : สมุทรปราการ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเรื่อง การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ (Computer for Work) โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ในช่วงสถานะการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการส่งงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยประชากรในการทำวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการ จำนวน 45 คน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเครื่องมือที่ผู้จัดทำได้สร้างขึ้นได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการส่งงานผ่านระบบ google classroom และระบบ google classroom ที่เป็นเครือข่ายของ website google เครื่องมือของแบบประเมินความพึงพอใจเป็นแบบมาตราการประเมิน (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท ข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักคะแนนประเมินค่าจัดอันดับความสำคัญ และสำหรับการแปลความหมายใช้ค่าเฉลี่ยของค่าที่วัดได้และยึดแนวคิดของเบสท์ (Best, 1986 : 195)
การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ปริมาณการส่งงานของนักเรียน คือ ค่าเฉลี่ย (µ) และร้อยละ (%) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (µ) ร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
....
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นวิจัยเรื่อง การแก้ปัญหาการส่งงานในวิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการส่งงานของของของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการโดยประชากรในการทำวิจัยคือ นักเรียนระดับของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการ จำนวน 45 คน ซึ่งใช้ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ภาคเรียน คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเครื่องมือที่ผู้จัดทำได้สร้างขึ้นได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการส่งงานผ่านระบบ Google Classroom และระบบ Google Classroom ที่เป็นเครือข่ายของ Website Google เครื่องมือของแบบประเมินความพึงพอใจเป็นแบบมาตราการประเมิน (Rating Scale) 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคิร์ท ข้อคำถามจำนวน 6 ข้อ โดยใช้เกณฑ์น้ำาหนักคะแนนประเมินค่าจัดอันดับความสำคัญ และสำหรับการแปลความหมายใช้ค่าเฉลี่ยของค่าที่วัดได้และยึดแนวคิดของเบสท์ (Best, 1986 : 195)
การวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ปริมาณการส่งงานของนักเรียน คือ ค่าเฉลี่ย (µ) และร้อยละ (%) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความพึงพอใจใช้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (µ)ร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
อภิปรายผล
จากผลการวิจัยเรื่อง การแก้ปัญหาการส่งงานในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่ออาชีพ โดยใช้วิธีการส่งงานผ่านระบบห้องเรียนออนไลน์ (Google Classroom) ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการ สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1. จากผลการวิจัยพบว่า มีจำนวนนักเรียนที่ไม่ Join Class ในปริมาณน้อย มีจำนวนนักเรียนที่ส่งงานผ่านระบบ Google Classroom ตามกำหนดต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนทั้งหมด แต่มีจำนวนนักเรียนส่งงานในปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากการส่งงานในครั้งแรกและมีจำนวนนักเรียนที่ส่งงานช้าในปริมาณน้อยมากส่วนนักเรียนที่ไม่ส่งงานนั้นมีปริมาณน้อยกว่าจำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนด
2. จากผลการประเมินความพึงพอใจพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในการส่งงานผ่านระบบ Google Classroomในระดับมากที่สุดโดยพิจารณาจากการประเมินเป็นรายข้อได้ว่านักเรียนมีความเข้าใจในระบบ Google Classroom ในระดับมากที่สุด มีความประหยัดเวลาในการส่งงานลดขั้นตอนและอุปสรรคในการส่งงานในระดับมากที่สุดมีการใช้ระบบได้เหมาะสมกับวิชาที่เรียนในระดับมากที่สุดสามารถนำไปใช้ในวิชาอื่น ๆ ได้ ในระดับมากที่สุด นั่นคือนักเรียนมีการคิดต่อยอดและประยุกต์วิธีการส่งงานของตนในรายวิชาอื่น ๆ ได้ สามารถส่งงานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด ได้ในระดับมากที่สุด และนักเรียนยังมีความต้องการที่ใช้ระบบ Google Classroom ในการส่งงานต่อไป ในระดับมากที่สุด
จะเห็นได้ว่าการส่งงานผ่านระบบ Google Classroom นั้น นักเรียนไม่สามารถ Join Class ได้ครบตามจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งมาจากปัจจัยด้านอื่น เช่น นักเรียนไม่มาเรียนในวันที่สอนใช้งาน Google Classroom และนักเรียนมีพฤติกรรมไม่สนใจเรียน ถึงแม้ว่าจำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนดจะต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนทั้งหมด แต่จำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนดมีมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนักเรียนที่ Join Class ซึ่งจำนวนนักเรียนส่งงานตามกำหนดมีมากขึ้นจากการส่งงานในครั้งแรก หากมีจำนวนชิ้นงานที่มากกว่านี้ คาดว่าอาจทำให้จำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนดมีมากขึ้น ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนนั้นมีความรู้ ความสนใจ และอยากให้มีการใช้ Google Classroom เป็นวิธีการส่งงานในครั้งต่อไปแต่ขัดแย้งกับจำนวนนักเรียนที่ส่งงานตามกำหนด นั่นหมายความว่า ระบบ Google Classroom ยังไม่สามารถปรับพฤติกรรมการส่งงานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรปราการได้ดีเท่าที่ควร เพียงแต่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งงานมากขึ้นเท่านั้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนการสอน โดยการสอนผ่านระบบ Google Classroom
2. ควรทำวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านระบบ Google Classroom