LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะพื้

usericon

การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2563 เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1) การวิจัย (research) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริบทของการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
2) การพัฒนา (development) เป็นการสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 3) การวิจัย (research) ศึกษาผลการทดลองการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 และ 4) การพัฒนา (development)เพื่อศึกษาความพึงพอใจสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 ของโรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 26 คน แบบแผนในการวิจัย ใช้การทดลองแบบ pre experimental design โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 15 แผน 2) แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน อายุ 5-6 ปี ลักษณะข้อสอบเป็นสถานการณ์ประกอบรูปภาพ 4 ชุด จำนวน 20 ข้อ ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ทักษะการสังเกต ชุดที่ 2 ทักษะการจำแนกประเภท ชุดที่ 3 ทักษะการวัด ชุดที่ 4 ทักษะการสื่อความหมาย 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการเรียน เป็นแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 1 ชุด 10 ข้อการวิจัยครั้งนี้ มุ่งพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย โดยการศึกษาความคิดเห็นและข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ แล้วนำมาพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหา จำนวน 3 หน่วย 15 กิจกรรม คือ หน่วยที่ 1 หน่วย สัมผัสนิดคิดเรียนรู้ กิจกรรมที่ 1 ตาของฉันนั้นสดใส กิจกรรมที่ 2 จมูกมีไว้ใช้ดมกลิ่น กิจกรรมที่ 3 หูฟังเสียงให้ได้ยิน กิจกรรมที่ 4 ลิ้นชิมรสให้รู้ดี กิจกรรมที่ 5 มือไว้คลำทำให้รู้ หน่วยที่ 2 หน่วยคุณหนูรักต้นไม้ กิจกรรมที่ 6 ต้นไม้นี้เป็นที่รัก กิจกรรมที่ 7 ปลูกผักนะคุณหนู กิจกรรมที่ 8 รากดูดน้ำเลี้ยงต้นใบให้เชิดชู กิจกรรมที่ 9 มาเรียนรู้ใบไม้ใช้เป็นยา กิจกรรมที่ 10 สีสันสวยปลอดภัยใครช่างคิด หน่วยที่ 3 หน่วยน้ำแสนวิเศษ กิจกรรมที่ 11 ช่วยบอกนิดน้ำมาจากแห่งไหน กิจกรรมที่ 12 จมหรือลอยพิสูจน์หน่อยเป็นไร กิจกรรมที่ 13 น้ำเปลี่ยนไปตามรูปร่างช่างอัศจรรย์ กิจกรรมที่ 14 น้ำฟองสบู่ดูเพลินเกินเสกสรร กิจกรรมที่ 15 น้ำมีคุณต่อเรามากมายครัน ซึ่งในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยส่วนหน้า ได้แก่ คำนำ วัตถุประสงค์ การออกแบบการเรียนรู้ คำชี้แจงในการใช้คู่มือครู บทบาทของครู แผนการจัดประสบการณ์ คู่มือการประเมิน แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่าง ภาพสถานการณ์ประกอบคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าสถิติ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณาความและตาราง
สรุปผลการวิจัย
    จากการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปได้ ดังนี้
    1. ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริบทของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดังนี้
1.1 ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปจัดการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เพราะการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยพัฒนาทักษะการเรียนได้และยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่ครู นอกจากนี้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ ยังสามารถประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
1.2 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พบว่า หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย เป็นหลักสูตรที่พัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพภายใต้บริบทของสังคม – วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม นอกจากนี้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 6 ปี มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงกำหนดจุดหมายซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหวและรักการออกกำลังกาย ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย มีความสามารถในการคิดและการแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ ผลการศึกษาความคิดเห็นและความต้องการของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 กิจกรรมการวัดผลและประเมินผล พบว่า ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นว่า การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีตัวอย่าง ลักษณะของกิจกรรมที่ชัดเจน รูปภาพสวยสีสันเหมาะสมกับเด็กปฐมวัย นอกจากเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 แล้วควรเพิ่มเติมหรือแทรกเนื้อหาให้สอดคล้องกับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในทุกกิจกรรมทั้ง 15 กิจกรรม ด้านการนำการจัดประสบการณ์กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ โดยการจัดเป็นกลุ่ม 4-5 คน เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ เรียนรู้ด้วยตนเองเป็นรายบุคคล เรียนรู้แบบกลุ่มย่อย 2 คน มีการวัดผลและประเมินผลครอบคลุมด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและเจตคติ โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น หน่วยสัมผัสนิดคิดเรียนรู้ เรื่องที่ 1 การมองเห็น กิจกรรมตาของฉันนั้นสดใส เครื่องมือที่ใช้ เพลงตา เครื่องเคาะจังหวะ ปริศนาคำทาย ไม้บล็อก กระจก กล่อง ไฟฉาย เทปกาว กระดาษ A4 สีน้ำ พู่กัน นอกจากนี้การจัดกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมก็จะใช้เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมในแต่ละชุด
    2. ผลการพัฒนา (development) การสร้างและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล ปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า
     2.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.97 / 82.79 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
    2.2 การเปรียบเทียบการประเมินทักษะก่อนการพัฒนาและหลังการประกอบการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่า t เท่ากับ 10.83*
    3. ผลการทดลองพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุรินทร์ จำนวน 26 คน ซึ่งใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ชั่วโมง ไม่รวมประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ผลการทดลองใช้ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มีความสนใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ มีทักษะการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีความสุข สนุกกับการเรียน มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ กิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบบบูรณาการที่นำมาทดลองใช้ นำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาประกอบการเรียนรู้
     4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ เพื่อประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการวิทยาศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 2.52 , S.D.= 0.69) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69 แสดงว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อนักเรียนมีความพึงพอใจมาก จำนวน 6 ข้อ พึงพอใจปานกลาง จำนวน 4 ข้อ


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^