LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาฯ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผู้วิจัย นายสุเทพ สังข์วิเศษ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง มีขั้นตอนดำเนินการการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
1.1 สภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ทุกด้านโดยรวม พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการประเมินผล ด้านการปรับปรุงแก้ไข โดยด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
1.2 สรุปสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ได้หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 10 หลักการ ประกอบด้วย หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลักการพึ่งตนเอง หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ
และหลักความคุ้มค่า และกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติการ ด้านการประเมินผล และด้านการปรับปรุงแก้ไข
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
2.1 ร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งประกอบด้วย 4 ภารกิจหลัก คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป องค์ประกอบด้านหลักการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักธรรมาภิบาล และหลักการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ได้แก่ หลักคุณธรรม (Ethics) หลักนิติธรรม (Rules of Law) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Value of Money) หลักการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลักการพึ่งตนเอง และหลักการพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ (Decision - making – D) ด้านการวางแผน (Planning - P) ด้านการปฏิบัติการ (Operating - O) ด้านการประเมินผล (Evaluating - E) และด้านการปรับปรุงแก้ไข (Appropriate acting - A)
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมา หลักการการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและหลักความโปร่งใส มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนองค์ประกอบด้านกระบวน- การบริหาร ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปรับปรุงแก้ไข มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.3 ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร ในภาพรวมองค์ประกอบด้านหลักการบริหาร มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า หลักคุณธรรม (Ethics) หลักนิติธรรม (Rules of Law) และหลักการมีส่วนร่วม (Participation) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา หลักการพึ่งตนเอง มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และหลักความพอประมาณ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยต่ำ สุด ส่วนผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง องค์ประกอบด้านกระบวน- การบริหาร ในภาพรวมองค์ประกอบด้านกระบวนการ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปรับปรุงแก้ไข มีความเป็น ไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้าน-การตัดสินใจ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และด้านการปฏิบัติการ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.4 การนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ แนวคิด และหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง โดยรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
4.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน โดย เรียงลำดับดังนี้ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ
4.2 ผลการประเมินประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ผลการประเมินตนเองการประกันคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง สรุปได้ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนมีระดับคุณภาพดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับคุณภาพดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพดีเยี่ยม และมาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อผลผลิต/ผลลัพธ์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งทั้ง 4 ด้าน มีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้านสอดคล้องกัน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^