LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

usericon

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 "สุรินทร์วิทยาคม" 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 "สุรินทร์วิทยาคม" ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ผ่านการเรียนรูด้วยแผนการจัดประสบการณ์การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น
3) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่เรียนด้วยแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เรื่อง การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 3 อายุ 5-6 ปี โรงเรียนเทศบาล 1 "สุรินทร์วิทยาคม" ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาโดยการ สุ่มแบบกลุ่ม (Cluter Random Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3
โรงเรียนเทศบาล 1 "สุรินทร์วิทยาคม" 2) แบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ ชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด จำนวน 16 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t – test









สรุปผลการวิจัย
จากผลการศึกษาเรื่องการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปผล ดังนี้
จากผลการศึกษา เรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สรุปผล ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” มีประสิทธิภาพตาม 83.78/81.66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว
2. คะแนนเฉลี่ยการเปรียบเทียบจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม” ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ผ่านจัดประสบการณ์การเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้กิจกรรมการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน ด้านความคิดคล่องแคล่ว ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดละเอียดลออ ด้านความคิดยึดหยุ่น xxxส่วนหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาน่ารู้ สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์ ในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 1 “สุรินทร์วิทยาคม”โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ โดยใช้การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x ̅ = 2.69 S.D = 0.44) เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีเนื้อหาที่เหมาะสม, บรรยากาศในการเรียนน่าสนใจและสนุกสนาน, นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ,ใช้เวลาเหมาะสมในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น, นักเรียนเข้าใจคำชี้แจงการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ครูอธิบาย ให้ฟัง, การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น มีภาพประกอบสวยงาม , มีตัวอักษรตัวเลขชัดเจนเหมาะสม , กิจกรรมการเรียนรู้สร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียน , นักเรียนมีความสุขในการเล่นการละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่น , การละเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความน่าสนใจ ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^