การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้วิจัย นางรุณี ห่อทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยนกแล
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผลการวิจัยพบว่า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัย ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) ระบบกลไกและสิ่งสนับสนุน องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (PLAN) ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติการ(DO) ขั้นตอนที่ 3 การสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอน (See) องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิต ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 3) ความพึงพอใจของครู โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จ 2 ประการ ได้แก่ 1) การดำเนินการตามระบบอย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย 2) การร่วมแรงรวมพลัง เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
ผลการตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ครูผู้สอนมีความเห็นว่าสามารถปฏิบัติตามรูปแบบได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล ทุกกลุ่มสาระวิชา ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าในปีการศึกษา 2562 และผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแล พบว่า ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ทุกข้อ ในปีการศึกษา 2563 สูงกว่าในปีการศึกษา 2562 ส่วนการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยนกแลตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพไปใช้ อยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ