LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางพุธิตา หอมไกร
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิด
ประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถใน
การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียน
การสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิด
ประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้
3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์
การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.2) เพื่อศึกษาความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์
การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์
การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1กลุ่มเป้าหมายที่ใช้
ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ก าลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านมลายูบางกอก) ต าบลสะเตง อ าเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ส านักการศึกษา
เทศบาลนครยะลา จ านวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบวิเคราะห์ข้อมูล จ านวน 1 ฉบับ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบ
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์จ านวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จ านวน
40 ข้อ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ จ านวน 30 ข้อ และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจ จ านวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหา
ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพข
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการวิเคราะห์สังเคราะห์เอกสาร ครูมีความ
ต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย
2. รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทาง
วิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีชื่อว่า “TEDSIE Model” (เท็ดซี โมเดล) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1
เร้าความสนใจ (Trigger : T) ขั้นที่ 2การเข้าสู่ปัญหา นิยามปัญหาและการเรียนรู้(Encountering Defining
the Problem and Learning : E) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (Data and
Collection : D) ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ข้อมูลและการฝึกปฏิบัติ (Synthesis and Performance : S) ขั้นที่ 5
ตีความและสรุปผลการเรียนรู้ (Interpreting : I) และ ขั้นที่ 6 การประเมินผล (Evaluation : E)
โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2
) เท่ากับ 82.94/83.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้
3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ
แก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนการเรียนรู้
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์โดยอิงแนวคิด
ประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านสื่อกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^