การประเมินโครงการลดการใช้พัสดุฯตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ปีการศึกษา 2562
ชื่อผู้เสนอผลงาน : นายเอกพล อินทรพิชัย
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2562
สถานที่ : โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการลดการใช้พัสดุสาธารณะโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2562 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของดาเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Danial L.Stufflebeam) เป็นแบบในการดำเนินการประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ข้าราชการครูและบุคลากรโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จำนวน 114 คน นักเรียนโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จำนวน 342 คน คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 5 ฉบับ แบบบันทึกข้อมูลสารสนเทศจำนวน 1 ฉบับ และแบบทดสอบ ๑ ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าสถิติทดสอบ t และการวิเคราะห์เนื้อหา
การประเมินโครงการลดการใช้พัสดุสาธารณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเศรษฐ
บุตรบำเพ็ญ ปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย 4 ด้าน ประกอบด้วย 1. ประเมินสภาวะแวดล้อม(บริบท)
2. ประเมินปัจจัยนำเข้า 3. ด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ มี ๓ ขั้น คือ 3.1)
ขั้นเตรียมการ 3.2) ขั้นดำเนินกิจกรรมโครงการ 3.3) ขั้นประเมินผลและรายงาน 4. ด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 4.1) ด้านผลผลิตของการดำเนินโครงการ มี ๒ ด้าน คือ 4.1.1) ด้านผู้เรียน 4.1.2) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา 4.2) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา 4.4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านสภาวะแวดล้อม (บริบท) จากการประเมินความพร้อมของโครงการโดย แบบสอบถามฉบับที่ 1 พบว่าผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าเป็นโครงการหลักตามกลยุทธ์ จุดเน้นของสถานศึกษา โครงการมีกิจกรรมสนองโครงการที่มีผู้รับผิดชอบ จำนวนบุคลากรที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการมีความเพียงพอ เหมาะสม ตลอดจนสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ สนับสนุน จึงเอื้อต่อการขับเคลื่อนโครงการ
2. ด้านความปัจจัยนำเข้า จากการประเมินความพร้อมของโครงการโดย แบบสอบถามฉบับที่ 2 พบว่าผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก จากการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าเป็นโครงการหลักตามกลยุทธ์ จุดเน้นของสถานศึกษา โครงการมีปัจจัยนำเข้า ระยะเวลาในการดำเนินงาน งบประมาณ
มีความเพียงพอ เหมาะสม โครงการ กิจกรรม ตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน มีสื่อ เอกสาร แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนโครงการ
3. ด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการ จากการประเมินด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการโดยแบบสอบถามฉบับที่ 3 พบว่าผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และแบบบันทึกข้อมูลสารสนเทศ และตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าในขั้นเตรียมการ ครูเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนโครงการ การเตรียมความพร้อมด้านอาคาร สถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ขั้นดำเนินกิจกรรมโครงการ ดำเนินงานตามนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปี มีการจัดทำ และใช้ฐานการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน มีการใช้ฐานการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ครูบูรณาการแหล่งเรียนรู้ภายนอก ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ขั้นประเมินผลและรายงาน ฝ่ายบริหาร กำกับและติดตาม การดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเครื่องมือการประเมินที่ชัดเจน มีการนำผลการประเมินไปพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
4. ด้านผลผลิตของโครงการ จากการประเมินด้านผลผลิตของโครงการโดยแบบสอบถามฉบับที่ 4 พบว่าผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผู้เรียน พบว่านักเรียนเห็นคุณค่าของการใช้พัสดุสาธารณะตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่านักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนักเรียนมีอุปนิสัยเอื้อเฟื้อช่วยเหลือแบ่งปัน ด้านครูและสถานศึกษา ครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต ครูมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายที่ถูกต้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สถานศึกษามีหลักสูตร มีหน่วยการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสถานศึกษามีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนโครงการ จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังเข้าร่วมอบรม โดยแบบทดสอบความรู้และการนำไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเข้าอบรมสูงก่อนเข้าอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และจากการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าอบรมที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด