รายงานการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่น
เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวนันท์นภัส มงคลสังข์
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริม คุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ ในการจัดประสบการณ์ของครูปฐมวัยโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิ-เมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) 3) เพื่อหาประสิทธิภาพของนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 4) เพื่อศึกษาผลการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ก่อนและหลังการใช้สื่อ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสอบถามเพื่อการวิจัย 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 3) แบบสนทนากลุ่ม (Focus group) 4) แผนการจัดประสบการณ์ 5) แบบวัดพฤติกรรมท้ายเล่ม 6) แบบวัดพฤติกรรม จำนวน 24 ข้อ 7) แบบวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และ t-test Dependent for Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่น พบว่า การใช้สื่อมีน้อยเป็นผลจากอิเล็กทรอนิกส์ขาดแคลนมีไม่เพียงพอ ขาดคุณภาพและมาตรฐาน บุคลากรขาดความรู้ความสามารถในการผลิตการ์ตูนแอนิเมชั่น
2. แนวทางหรือรูปแบบในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) มี 3 ขั้นตอน 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นการผลิต (1) ด้านเนื้อหา (2) ด้านองค์ประกอบ (3) ด้านคุณลักษณะ 3) ขั้นสรุป
3. นิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 89.35/90.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
4. ผลการเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยหลังจากใช้นิทานการ์ตูนแอนิเมชั่น สูงกว่าก่อนการใช้นิทานการ์ตูนแอนิเมชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่น ซึ่งอยู่ในระดับมากขึ้นไป (ค่าเฉลี่ย 2.90) พบว่า 3 ลำดับแรก เรียงจากมากไปหาน้อย คือ นิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นมีภาพประกอบสวยงาม นิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นมีความน่าสนใจ บรรยากาศการเรียนน่าสนใจและสนุกสนาน
คำสำคัญ การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นิทานการ์ตูนแอนิเมชั่น ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
Storybook Animation Electronic Media Development to Promote Morality and Ethics of kindergarten 3 (5-6 years)
Miss Nannaphat Mongkolsang
Abstract
In this report, the development of electronic media in the form of fairy tales, cartoons, and animation to promote moral ethics of Preschool Children in Kindergarten grade 3 (age 5-6 years). It is very important for the learning environment in the class and the development of children's learning. There are three main objectives, including of 1) to study problems, threats, and suggestions in organizing the teacher experiences of using electronic media in the form of fairy tales, cartoons, and animation to promote morality and ethics. 2) To design and develop electronic media in the form of fairy tales, cartoons and animation. 3) To find the efficiency of fairy tales’ animation to promote morality and ethics created by the researcher to align with the criteria 80/80. 4) To study the results in the form of fairy tales, cartoons and animation are used before and after the electronic media. 5) To study Kindergarten child's satisfaction.
The tool used in this research was a research questionnaire, In-depth Interview, and Focus group, etc., which was reported as a Standard Deviation (S.D.) and t-test Dependent for Samples.
The research results have found as follows.
1. The problem environment from electronic media in the form of fairy tales, cartoons and animation found that the use of media was the lack of communications. Lack of quality and standard personnel lack of knowledge and ability to produce cartoon animation.
2. Guidelines or patterns to produce electronic media in the form of fairy tales, cartoons and animation to promote morality and ethics of early childhood with 3 steps such as 1. Preparations 2. Production (1) Content (2) Composition (3) Characteristics 3) Summary.
3. An effective, animated storybook to promote morality was created as 89.35 / 90.00, which is based on the specified criteria.
4. The moral and ethical comparisons of early childhood, children after using animated stories were higher than before using animated stories as statistical significance at the 0.01 level.
5. The satisfaction of Children in Kindergarten with fairy tales, cartoons and animation. Storybook animation with beautiful illustrations that add interest in learning and enhance the fun of the kids' learning.
Keywords: Electronic media, Cartoon animation, Morality and Ethics