การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ
และ 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 371 คน ประกอบด้วย
ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 174 คน และ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1- 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 174 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 199 คน ประกอบด้วยครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครูและผู้แทนผู้บริหารได้อยู่ในส่วนที่เป็นครูผู้สอนแล้ว
ผู้ปกครองนักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 89 คน และ นักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 89 คน เหตุผลเพราะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่อง ทุกคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผล
การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก สรุปผลดังนี้
การประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ลำดับสูงสุด ได้แก่ มีความเหมาะสมและความสอดคล้องตรงกับนโยบายของ สพฐ. มีความเหมาะสมและความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชนและท้องถิ่น และ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ มีความเหมาะสมและความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน อยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ลำดับสูงสุด ได้แก่ ใช้รูปแบบกระบวนการคัดกรองนักเรียนที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงานโครงการกับสภาพของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ มีการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม มีความพร้อม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ ครูมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดำเนินงานระบบ การดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมาก และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ใช้สื่อและเครื่องมือในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีความพร้อม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ลำดับสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ สถานที่มีความเหมาะสมกับการจัดกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวม มีการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ มีการการวางแผนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ ลำดับสูงสุด ได้แก่ การป้องกันและแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุดและรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ นิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด อยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอกเกี่ยวกับเกี่ยวกับความสามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวม มีพฤติกรรม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่ เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสังคม อยู่ในระดับมากและรายด้านลำดับต่ำสุด ได้แก่ มีเจตคติที่ดีและทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพอยู่ในระดับมาก
การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอกเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูผู้สอน พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อลำดับสูงสุด โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้และ ผลสำเร็จของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก สามารถบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้นักเรียนได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน พบว่าโดยภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อลำดับสูงสุด โรงเรียนมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง และโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก เน้นการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ ผลสำเร็จของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก สามารถบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้นักเรียนได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางการศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ ผลสำเร็จของการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก สามารถบ่งชี้คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้นักเรียนได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งมะกอก ไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมาก และรายข้อลำดับต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนสามารถรักษาสุขภาพได้อย่างถูกวิธี อยู่ในระดับมาก