การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ผู้ประเมินโครงการ หน่วยงานที่สังกัด ปีการศึกษา
การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนบ้านควนสระ
นายโอม รัตนพันธ์ ผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านควนสระ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2562
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน บ้านควนสระ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพ การศึกษาของโรงเรียนบ้านควนสระ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
รูปแบบของการประเมินโครงการในครั้งนี้ ใช้รูปแบบจําลองแบบซิปป์ “CIPP Model” ของแดเนียล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) ซึ่งเป็นการประเมิน โครงการพัฒนา 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนําเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)
ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินโครงการ เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการดําเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านควนสระ จํานวน 23 คน ผู้ปกครองนักเรียน จํานวน 45 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 172 คน รวมทั้งสิ้น จํานวน 240 คน เครื่องมือที่ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จํานวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการ ประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านควนสระ สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้าน ควนสระ ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนําเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้ รูปแบบจําลองแบบซิปป์ “CIPP Model” มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
2. ก่อนดําเนินงานพัฒนา ครู บุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง มีความ พึงพอใจต่อการดําเนินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโดยภาพรวม และรายด้าน 2 ด้าน คือ ด้าน สภาพแวดล้อม และด้านปัจจัยนําเข้า เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนอีก 2 ด้าน คือ ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต เหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. หลังดําเนินงานพัฒนา การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียน สรุปได้ว่าบุคลากรมีความ พึงพอใจต่อการพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การ บริหารจัดการ และคุณลักษณะของ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
4. การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง สรุปได้ว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ ต่อการ พัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์กับชุมชน และคุณลักษณะของ นักเรียน อยู่ใน ระดับมากที่สุดทุกด้าน
5. การประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของนักเรียน สรุปได้ว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การ พัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาสภาพแวดล้อม การจัดกิจกรรมเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ ห้องปฏิบัติการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
ข้อเสนอแนะ
1. โรงเรียนควรนําผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกําหนดรูปแบบ และแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน ให้ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนบ้านควนสระ ควรนํา รูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของ ครู เพราะจะทําให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนําผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สํานักงานเขต พื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
4. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมิน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
5. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน