LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การนิเทศการศึกษากับครูคุณภาพมาตรฐานการศึกษา

usericon

บทความเรื่อง การนิเทศการศึกษากับครูคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
โดย นางรุ่งภัคภรณ์ ภาคทรวง
“การศึกษาพัฒนาคน คนพัฒนาชาติ”เป็นคำกล่าวที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษาว่ามีอิทธิพล
สามารถพัฒนาประเทศชาติสู่ความเจริญก้าวหน้า สิ่งที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ได้ก็คือการปฏิรูประบบ
การศึกษาและระบบการนิเทศกำกับติดตามพัฒนาครูสู่มาตรฐานการศึกษาให้เป็นครูที่มีคุณภาพมาพัฒนา
ทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนเก่ง คนดี ที่มีสุขในยุคดิจิตัล
การนำเอาการศึกษามาใช้เป็นกลยุทธในการพัฒนาคน เพื่อนำคนไปสู่การสร้างชาติที่มีเอกลักษณ์
หนึ่งเดียวในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้คงไม่มีใครปฏิเสธกลยุทธในการพัฒนาของประชาชนสาธารณรัฐสิงคโปร์
ภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรีลี กวน ยู เจ้าของฉายา “สิงโตเฒ่า South East Asie.” นักการเมือง
ชาวสิงคโปร์อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนแรกซึ่งปกครองประเทศเป็นเวลาสามทศวรรษ เขาได้รับการ
ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศสิงคโปร์สมัยใหม่ที่กล้าหาญชาญชัยประกาศกร้าวว่า
“สิงคโปร์จะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง อันประกอบด้วยผู้นำและผู้บริหารที่มีคุณภาพและประชากรซึ่งเป็นฐาน
ที่มีคุณภาพ มีระเบียบวินัยสำนักในหน้าที่ความเป็นพลเมือง โครงสร้างดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยผลผลิตของ
ระบบการศึกษาเท่านั้นเท่านั้น”คำกล่าวนี้ได้ชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ค่าอนันต์ของการศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะ
อดีตผู้นำท่านนี้สามารถบรรลุจุดประสงค์ดังปณิธานที่ท่านได้ตั้งไว้นำพาประชาชนและสาธารณรัฐสิงคโปร์พัฒนา
ประเทศให้รอดพ้นวิกฤตนานับประการที่เผชิญอยู่ ก้าวสู่ระดับแนวหน้าของสังคมประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง
สง่างาม
เมื่อหันมามองระบบการศึกษาไทยก็ไม่ได้ล้าหลังดั่งที่ใครๆ คิด เพียงแต่มิได้ประสบความสำเร็จใน
การปฏิรูปการศึกษาได้รวดเร็วดังประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศอื่นๆ เท่านั้นเอง ตลอดเวลาตั้งแต่อดีตจวบจน
ปัจจุบันการศึกษาไทยได้พัฒนามาตลอด ในอดีตการศึกษาของไทยตั่งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
การศึกษาของไทยเกิดขึ้นอยู่ที่บ้านโดยครอบครัวและที่วัดโดยพระสงฆ์ โดยเฉพาะวัดเป็นศูนย์รวมการศึกษา
การมาเรียนตามวัดนี้นับเป็นการศึกษาแบบให้เปล่าที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Free Education และการ
ดำเนินการสอนโดยพระในวัด พระรูปใดมีความชำนาญด้านใดท่านก็จะสอนวิชานั้น ชาวบ้านชาวเมืองคนใดมี
ความเชี่ยวชาญด้านใดก็จะสอนลูกหลานและลูกศิษย์มีความสามารถได้รับการฝึกฝนในวิชานั้นให้เกิดความ
เชี่ยวชาญตามสภาพครูผู้นั้น นอกจากนั้นยังมีการฝึกอบรมทางด้านจิตใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ครูท่าน
นั้นต้องการให้เป็นในแต่ละศาสตร์วิชา ซึ่งเป็นการศึกษานอกระบบที่ไม่ได้จัดในชั้นเรียนดังในระดับอุดมศึกษา
ในปัจจุบันนั่นเอง เพียงแต่ไม่มีในหลักสูตรหรือกำหนดคาบเวลาสอนแต่อย่างใด เพราะการศึกษาในวัด
ระยะแรกเป็นการศึกษาที่มุ่งปฏิบัติเพื่อเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญแต่ไม่มีระบบการ
บริหารงานและสารสนเทศทางการศึกษาดังปัจจุบัน ทำให้ไม่มีการควบคุมคุณภาพครูผู้สอนแต่ประการใด
การนิเทศในช่วงระยะเวลานั้นอาจเป็นการนิเทศแบบเสรีตามความเหมาะสมของแต่ละวัดก็เป็นได้และหน่วย
ศึกษานิเทศก์ที่ทำหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือครูเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มี
ประสิทธิภาพก็มีการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2495 หากจะกล่าวว่าระบบการศึกษาไทยล้าหลัง
กว่าประเทศเพื่อนบ้านนั้นอาจเป็นคำกล่าวหาที่ค่อนข้างรุนแรงและไม่เป็นธรรมนัก ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 6 ว่าด้วยมาตรฐานและการประกัน
คุณภาพการศึกษา มาตราที่ 47,48,49,50 และ51 ได้กล่าวครอบคลุมถึงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
และมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ โดยให้ความสำคัญในหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาดังที่
กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ อีกทั้งหมวดที่ 7 ว่าด้วย ครู อาจารย์ และบุคคลทางการศึกษา ในมาตราที่
52,53,54,55,56และ57 ต่างก็มีจุดมุ่งหมายในการผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้น
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษา แต่ทว่าระบบการศึกษาไทยยังดำเนินรอยตามผู้อื่น การนิเทศก็ยังเป็นการ
นิเทศแบบเสรีอีกทั้งการศึกษาไม่ได้อยู่บนพื้นฐานการวิจัยทางการศึกษาเท่าที่ควรเฉพาะเช่นประเทศที่พัฒนา
แล้วแต่ก็ยังไม่สายถ้าเราจะปลูกจิตสำนึกใน “การให้” คือการส่งให้การช่วยเหลือผู้อื่น หรือ “การรับ” คือ รับ
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองนับตั้งแต่วันนี้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและเป็นคุณภาพที่ได้
มาตรฐานการศึกษา เป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา
ส่วนการนิเทศการศึกษาในโรงเรียนก็ให้หวนนึกถึงการนิเทศการสอนในโรงเรียน ซึ่งเป็นการนิเทศ
เพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนาวิชาชีพครู ให้ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนอย่างครูมืออาชีพ
อาจทำให้ครูหลายๆ ท่านเข้าใจผิด เข้าใจว่าเป็นการจับผิดครูหรือไม่ก็เป็นการนิเทศการสอนเพื่อประกอบการ
พิจารณาความดีความชอบโดยปราศจากการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของความหมายของการนิเทศการศึกษา
จำเป็นต้องชี้แจงกับคุณครูว่าการนิเทศการศึกษานั้น แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามแนวคิดของท่าน ศาสตราจารย์
ดร.สายหยุด จำปาทอง แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ซึ่งท่านได้จำแนกงานการนิเทศการสอนภายใน
โรงเรียน ไว้ดังนี้
1. งานเกี่ยวกับครู-เป็นการช่วยเหลือครูตามที่ครูร้องขอ และเปิดโอกาสให้ครูได้พบปะอยู่เสมอ
2. งานเกี่ยวกับหลักสูตร-ส่งเสริมให้ครูรู้จักใช้ สร้างและปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพ
ท้องถิ่นให้
3. งานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การเรียนการสอนแนะนำการใช้การผลิตเท่าที่สามารถทำได้ด้วย
ทรัพยากรในท้องถิ่น
4. งานเกี่ยวกับการปรับปรุงงานวิชาชีพของครูส่งเสริมให้ครูนิเทศกันและกัน เพื่อร่วมกันปรับปรุง
การเรียนการสอน
5. งานเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันทั่งภายในและภายนอกองค์กร
6. งานเกี่ยวกับการค้นคว้าทดลอง สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงวิธีกรรสอนให้ก้าวหน้า
จะเห็นว่างานการนิเทศการศึกษาไม่ได้มีเพียงแค่นี้ดังที่เข้าใจ ยังมีงานที่ปฏิบัติอยู่ในกรมในเขตและ
ในจังหวัด เพราะหน้าที่ของงานก็จะแตกต่างจากภาระหน้าที่ของงานการศึกษานิเทศก์ภายในโรงเรียน การปฏิบัติ
ภาระหน้าที่เพื่อช่วยครูให้พัฒนาคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาประเภทของการนิเทศการศึกษา ที่จะนำมากล่าว
ในโอกาสนี้แยกตามวิธีปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์เป็นหลักดังนี้
1. การนิเทศเพื่อแก้ไข(Correction) ซึ่งผิดพลาดข้อบกพร่องที่พบ จะต้องช่วยแก้ไขข้อบกพร่องนั้น
ซึ่งบางอย่างสามารถปล่อยให้ผ่านได้บางอย่าง จะต้องว่างแผนในการแก้ไขอย่างรอบคอบด้วยเทคนิควิธี
บางอย่างก็เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน
2. การนิเทศเพื่อป้องกัน (Prevention) ในการให้การช่วยเหลือครูนี้ หากปัญหาเกิดจากตัวครู
จำต้องให้ครูได้รู้จักตัวเองและยอมรับในปัญหา ควรคำนึงถึงบุคลิกอุปนิสัยส่วนตัวของครูว่าเป็นเช่นไร ข้อสำคัญ
ในการนิเทศเพื่อป้องกันควรระวังไม่ให้ครูเกิดความอับอายขายหน้าและขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เมื่อครูไม่
ประสบความสำเร็จในการดำเนินการใดๆ ในชั้นเรียน จึงมีหลักในการช่วยเหลือครูดังนี้
- ช่วยให้ครูมีความเชื่อมั่นในตนเองอย่างแน่นแฟ้น- ช่วยให้ครูกล้าที่จะต่อสู้กับอุปสรรคนานัปการ และสร้าง AQ (Adversity Quotient ทักษะ
ความอดทน ฟันฝ่าอุปสรรค์หรือความยากลำบาก)
- ช่วยให้ครูมีความกระตือรือร้นในงานสอนที่เป็นอาชีพของตนเองให้สูงส่ง
3. การนิเทศเพื่อก่อ (Construction) เพื่อมุ่งให้ครูไปสู่ความเจริญในภาระหน้าที่ในอาชีพใน
อนาคตของตนโดยใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อ
- ช่วยให้ครูได้ใช้ระเบียบวิธีสอนที่ดีเป็นประจำ
- ช่วยแร่งเร้าครูให้ทำงานด้วยความกระชับกระเฉง
- ช่วยให้กำลังใจ
- ช่วยชี้แจงช่องทางในการสร้างความเติบโตได้จริงจัง
4. การนิเทศเพื่อสร้างสรรค์(Creation) คือ การใช้ความรู้สติปัญญาให้เป็นประโยชน์เป็นผู้นำครู
ในการคิดริเริมสร้างสรรค์ดังนั้นผู้นิเทศก์จะต้องรู้จักวิธีการนิเทศการสอนหลายๆวิธีและมีคุณลักษณะเด่น
หลายๆประการที่จะทำในด้านนี้ได้
ส่วนการนิเทศการศึกษาในความหมายอื่น เช่น การนิเทศแบบตรวจตรา การนิเทศแบบประเมิน
การนิเทศแบบบังคับ การนิเทศการศึกษาแบบอื่นๆจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน
การศึกษาที่ครูจำเป็นต้องปฏิบัติอย่างเร่งด่วนในขณะนี้ จำเป็นต้องพึ่งการนเทศการสอน ซึ่งครูควรที่จะใช้การ
นิเทศจากภายนอกประสานการนิเทศภายใน 2 ลักษณะ คือ
1. การนิเทศจากภายนอก เป็นการจัดการของศึกษานิเทศก์ที่กระทำต่อโรงเรียน เพื่อให้เกิด
ความร่วมมือหรือประสานงานกันของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยเฉพาะบุคลากรในโรงเรียน เพื่อ
พัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
2. การนิเทศจากภายใน เป็นการจัดการของบุคลากรในโรงเรียน เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพ
การจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชั้นเรียน การสาธิตการสอน การสังเกตการสอน
ในชั้นเรียนหรือการจัด work Shop แบบต่างๆ ล้วนเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาทั้งสิ้น
ก่อนที่ผู้นิเทศจะดำเนินการนิเทศการศึกษา หรือก่อนที่เราจะพัฒนาครูให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาใดๆนั้น ควรศึกษาภาระงาน กำหนดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เทคนิคการให้คำแนะนำครู
การสะท้อนให้ครูมองเห็นในสิ่งบกพร่องที่ควรแก้ไข และควรกำหนดเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานการศึกษาที่ต้องการ
จะพัฒนาว่าควรที่จะให้อยู่ในระดับใดแล้วพัฒนาให้ถึงจุดนั้น เมื่อเราสามารถพัฒนาได้แล้ว การพัฒนาคุณภาพ
มาตรฐานการศึกษาที่ต้องการก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยากเย็นอะไร ดังแนวคิดตามทฤษฏีของลัทธิอัตถิภาวะนิยม
(Existentialism) โดย Jean-Paul Sartre ปรัชญาเมธีชาวฝรั่งเศส ท่านเชื่อว่า “มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความ
ว่างเปล่าความสามารถและสิ่งต่างๆล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ศึกษาค้นคว้าหามาให้ตนทั้งสิ้น มิได้ติดตัวมนุษย์มาแต่
ประการใด” เมื่อมนุษย์มีความสามารถที่จะทำบาปได้ มนุษย์ก็ควรที่จะสามารถทำความดีได้เท่าๆกัน
มั่นใจได้เลยว่าคุณครูท่านใดสามารถสร้างคุณภาพให้กับชีวิตการทำงานด้วยจิตวิญญาณครูแล้ว
คุณครูก็จะเป็นคุณครูดีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาอย่างสง่างาม
ด้วยรักและศรัทธาในวิชาชีพครู
นางรุ่งภัคภรณ์ ภาคทรวง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^