รายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
รายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการ
กองทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) รายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 2) เปรียบเทียบผลการแก้ปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองบ่อ ก่อนและหลังการดำเนินกิจกรรมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองบ่อ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 106 คน ครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 106 คน รวม 221 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรมข้อมูล มี 3 ชนิด คือ
1) แบบเก็บข้อมูล ประยุกต์ใช้แบบเก็บข้อมูลตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560 – 2569)
2) แบบรายงานผลการจัดกิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรม และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ซึ่งผ่านการตรวจสอบรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .25 ถึง .89 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินทั้งฉบับ .95 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล โรงเรียนบ้านหนองบ่อ มีน้ำหนัก
ตามเกณฑ์อายุร้อยละ 87.50 มีนักเรียนน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 5 ค่อนข้างมากคิดเป็น ร้อยละ 5 และค่อนข้างน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.50 ส่วนระดับประถมศึกษา มีน้ำหนักตามเกณฑ์อายุร้อยละ 88.68 มีนักเรียนน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 4.72 ค่อนข้างมากคิดเป็น ร้อยละ 3.77 และค่อนข้างน้อย คิดเป็นร้อยละ 2.83 โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันทำให้นักเรียนมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง สามารถทดสอบสมรรถภาพทางกายภาพรวมอยู่ในระดับดี และผลการจัดกิจกรรมตามโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามความคิดเห็น นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ใน
ระดับมาก
2. ผลการเปรียบเทียบหลังการดำเนินการกิจกรรมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 นักเรียนมีปัญหาทุพโภชนาการลดลงทุกระดับชั้นโดยในภาพรวมลดลง ร้อยละ 56.86 ระดับอนุบาล ลดลงร้อยละ 58.33 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ลดลงร้อยละ 57.14 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ลดลงร้อยละ 37.50 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ลดลงร้อยละ 85.71 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ลดลงร้อยละ 66.67 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ลดลงร้อยละ 60 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ลดลงร้อยละ 33.33
3. ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองบ่อ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก โดยมีความพึงพอใจสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ นำผลผลิตทางการเกษตรมาประกอบอาหาร รองลงมานักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันครบทุกคนโรงเรียน