การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องค่าคงที่สมดุล ของนักเรียนชั้น
ผู้วิจัย นางสาวทัศนีย์ สุพรรณ
โรงเรียนจารย์วิทยาคาร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33
ปีที่ทำการวิจัย พ.ศ. 2563
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องค่าคงที่สมดุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องค่าคงที่สมดุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่องค่าคงที่สมดุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนจารย์วิทยาคาร อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33 จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องค่าคงที่สมดุล จำนวน 4 แผน ใช้เวลาเรียนจำนวน 8 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องค่าคงที่สมดุล จำนวน 20 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสอบแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่องค่าคงที่สมดุล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดเกณฑ์ความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t - test (One-Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องค่าคงที่สมดุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนพัฒนาการ เฉลี่ยร้อยละ 32.12
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องค่าคงที่สมดุล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่องค่าคงที่สมดุล โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44