รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐ
ผู้ประเมิน นางวรรษมน หน่อแก้ว
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่ปันเดง
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
บ้านแม่ปันเดง ประจำปีการศึกษา 2563 อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ผู้ศึกษาได้ประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPModel ซึ่งประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input) ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ (Process) และด้านผลผลิตของโครงการ (Product) ได้ทำการดำเนินการประเมินกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 66 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นแบบประเมินที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น จำนวน 2 ฉบับ คือแบบประเมินสำหรับ ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และแบบประเมินสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการประเมินพบว่า
ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ปันเดง ประจำปีการศึกษา 2563 อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน จากผลการประเมินของครูและบุคลาการทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงอันดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านบุคคลากร อันดับที่ 2 ด้านงบประมาณ และด้านอาคารสถานที่ และอันดับที่ 3 ด้านวัสดุอุปกรณ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านบุคคลากร อันดับที่ 2 ด้าน อาคารสถานที่ อันดับที่ 3 ด้านงบประมาณ และอันดับที่ 4 ด้านวัสดุอุปกรณ์
ด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านแม่ปันเดง ประจำปีการศึกษา 2563 อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน จากผลการประเมินของครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านการประเมินผล อันดับที่ 2 ด้านการเตรียมการ และอันดับที่ 3 ด้านการปฏิบัติกิจกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับที่ 1 ด้านการปฏิบัติกิจกรรม อันดับที่ 2 ด้านการประเมินผล และอันดับที่ 3 ด้านการเตรียมการ
ด้านผลผลิต ของโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ปันเดง ประจำปีการศึกษา 2563 อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน จากผลการประเมินของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับที่ 1 ความพึงพอใจ และอันดับที่ 2 ด้านความคิดเห็นสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับที่ 1 กิจกรรมสวนเกษตรพอเพียง อันดับที่ 2 ความพึงพอใจ อันดับที่ 3 กิจกรรมขยะรักษ์สิ่งแวดล้อม อันดับที่ 4 กิจกรรมออมทรัพย์และอันดับที่ 5 กิจกรรมการประดิษฐ์เศษวัสดุ และกิจกรรมการเรียนรู้สู่อาชีพ
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ปันเดง ประจำปีการศึกษา 2563 อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดที่เท่ากันคือ รูปแบบของกิจกรรมมีความเหมาะสม และ เป็นกิจกรรมที่ดี ควรได้รับการสนับสนุนให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมในโครงการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอันดับที่ 1คือ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอันดับที่ 2 คือ สถานที่ความเหมาะสมในการดำเนินกิจกรรม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ นักเรียนสามารถนำความรู้จากทำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยในภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด จึงถือว่าโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ปันเดง ประจำปีการศึกษา 2563 อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน มีกิจกรรมที่น่าสนใจ กระตุ้นให้นักเรียนอยากร่วมอยากทำกิจกรรมพัฒนาสู่อาชีพได้ ตลอดจนสามารถพัฒนาความรู้ ทักษะ ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ