LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

ายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์

usericon

ชื่อเรื่อง     รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน
     และส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ
จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน    ว่าที่ร้อยเอกวีรฉัตร โสเจยยะ
     ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2563
    
บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stuftlebeam. 1983 : 169-179) มาใช้ในการประเมิน
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครู จำนวน 15 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 107 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 104 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.92-0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการประเมินพบว่า
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมโครงการ การพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มประเมินอยู่ในระดับมากได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19, S.D. = 0.75) ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.16, S.D. = 0.77) ได้คะแนน 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการ การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.19, S.D. = 0.76) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ด้านกระบวนการในการ ดำเนินโครงการการพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสามกลุ่มประเมิน อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.32, S.D. = 0.72) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงสุด ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และรองลงมา คือผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.28, S.D. = 0.73) ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.18, S.D. = 0.76) มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมต่ำสุด ได้คะแนน 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
    4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต ได้แก่
        4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลผลิตด้านคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมสูงสุด (x̄ = 4.33, S.D. = 0.71) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.32, S.D. = 0.70) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.26, S.D. = 0.75, S.D. = 0.73) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินเช่นกัน
        4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.36, S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู (x̄ = 4.25, S.D. = 0.72)อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิตเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.32, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.29, S.D. = 0.70) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.19, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน โดยใช้เทคนิคบันได 4 ขั้น โรงเรียนสมเด็จเจ้าพะโคะ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่ากลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄ = 4.36, S.D. = 0.67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน (x̄ = 4.34, S.D. = 0.68) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 4.24, S.D. = 0.74) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนน 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียนให้ประสบผลสำเร็จและเกิดความยั่งยืน สถานศึกษาควรมีการสร้างความตระหนักเพื่อสร้าง ความรู้ความเข้าใจแก่ครูและผู้เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรม มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงระหว่างครู และผู้เกี่ยวข้อง เช่น นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึง ความสำคัญของการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและการมีนิสัยรักการอ่านและ ควรใช้หลักการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน อีกทั้งส่งเสริมพัฒนาครูให้ใช้การวิจัยเป็นฐานในการ พัฒนา ให้ค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใน การพัฒนาที่เน้นทักษะ วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ตามศักยภาพของผู้เรียนก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากมายเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชนและเป็นแบบอย่างแก่หน่วยงานอื่นได้
    2. หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลปลายทางที่ยั่งยืน โรงเรียนปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้และเป็นโรงเรียนรักการอ่าน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น มีทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียน และนิสัยรักการอ่าน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมกับวัย อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ครูผู้สอนเป็นครูมืออาชีพในการพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิดวิเคราะห์ การเขียนและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และมีนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ ได้ตรงตามความจำเป็นของสังคมปัจจุบัน
    3. ผู้บริหารเป็นที่ปรึกษาหรือให้คำแนะนำให้ความรู้ตลอดจนส่งเสริมในการจัดกิจกรรม ในโครงการอย่างต่อเนื่องและสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคคล มีความยุติธรรม มีความเป็นกลางเป็นที่ยอมรับตลอดการดำเนินโครงการ มีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคลแบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
    ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
    1. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนและการมีนิสัยรักการอ่านของ นักเรียน
    2. ควรมีการวิจัยหรือรายงานเชิงคุณภาพควบคู่กับเชิงปริมาณ
    3. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้ รูปแบบการประเมินอื่นๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
    4. ควรมีการประเมินโครงการในระดับองค์รวมของสถานศึกษา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบ การประเมินของซิปป์ (CIPP Model)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^