รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
ผู้ศึกษา ปริญญา ยาประเสริฐ
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 6 เล่ม มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.28/82.57 แสดงว่าเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว ที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและวิเคราะห์ความก้าวหน้าปรากฏว่ามีค่าคะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ 42.13 จึงกล่าวได้ว่าคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน นั่นคือคะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนแสดงให้เห็นว่าเอกสารประกอบการเรียนสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นได้จริง
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62