รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนตามแนวฯ
โรงเรียนบ้านคลองกั่ว จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นายดลรอศักร์ ยะโกบ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองกั่ว
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านคลองกั่ว จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดบยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam. 1990 : 16) อ้างถึงในเยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. 2556 : 56-62) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 63 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 59 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .90-.96 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของนักเรียน และแบบบันทึกผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน รายบุคคลตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านคลองกั่ว ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มผู้ประเมินมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านคลองกั่ว ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็น/ตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านคลองกั่ว ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ที่ประเมินภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มผู้ปกครองอยู่ในระดับมากที่สุด และกลุ่มนักเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4. ด้านผลผลิตของโครงการ พิจารณาเป็นรายประเด็นดังนี้
4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านคลองกั่ว ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียนอยู่ในระดับมาก และกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูเพื่อการมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และเป็นแบบอย่างได้ ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง การประเมินภาวะสุขภาพของนักเรียน ด้านน้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันตกรรม และการเจ็บป่วย และอุบัติเหตุ โดยภาพรวมภาวะสุขภาพนักเรียนปกติ อยู่ในระดับดีมาก เฉลี่ยร้อยละ 93.55 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาภาวะสุขภาพแต่ละรายการ พบว่า ทั้ง 5 รายการ ได้แก่ รายการนักเรียน 94.78 มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ รายการนักเรียนไม่มีปัญหาภาวะทางโภชนาการ และรายการนักเรียนไม่มีปัญหาภาวะทางทันตกรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากัน เฉลี่ยร้อยละ 96.27 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมา ได้แก่ รายการนักเรียนไม่มีการเจ็บป่วย ร้อยละ 93.28 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนรายการนักเรียนไม่เกิดอุบัติเหตุ ในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เท่ากัน เฉลี่ยร้อยละ 91.79 อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริง การทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนโดยภาพรวมนักเรียนมีค่าร้อยละเฉลี่ยรายการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ร้อยละ 94.03 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละสมรรถภาพ พบว่า รายการเกี่ยวกับงอตัวไปข้างหน้า มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 95.52 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือ รายการดัชนีมวลกาย (สมส่วน) มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.78 อยู่ในระดับดีมาก ส่วนรายการยืนยกเข่าขึ้นลง 3 นาที มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 91.04 อยู่ในระดับดีมาก เช่นกัน
4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ “6อ 3ส” ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมินตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยภาพรวมทั้ง 4 กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุดอยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ควรนำผลการประเมินโครงการวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดด้อย รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรค เทียบเคียง เพื่อปรับปรุงพัฒนาสร้างสรรค์ “6อ 3ส” ที่กำลังดำเนินการอยู่ให้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายของโรงเรียน
1.2 ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบควรนำกิจกรรม “6อ 3ส” ประยุกต์ใช้โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมแต่ละโรงเรียน เพื่อศึกษาผลกระทบในการพัฒนาสุขภาพของนักเรียน
1.3 ควรนำผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาสุขภาพนักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาต่อไป
1.4 ครูที่ปรึกษาควรสร้างความเข้าใจอันดี มีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียนและผู้ปกครอง มีเวลาพบปะพูดคุยกับนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อ สุขภาพกาย สุขภาพจิต ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดกับนักเรียน
2.2 ควรศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพนักเรียนระดับประถมศึกษาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 หรือระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน