LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101)

usericon

บทคัดย่อ

วิจัยเรื่อง :    รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร
        เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
        ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย :    นางรอมีบ๊ะ มิง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ที่ทำงาน :    โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
        องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ปีที่วิจัย :    2562-2563

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85/85 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้หน่วยโรงเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัย เป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักวิทยาศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ชั่วโมง ๆ ละ 1 แผน รวมทั้งสิ้น 20 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบแบบคู่ขนาน 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินจิตนิสัยทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักวิทยาศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ข้อ และ 5)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
    ปรากฏผลการวิจัยและพัฒนา ดังนี้
    1. สภาพปัจจุบันและความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
        1.1 สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับปานกลาง
        1.2 ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเขตคุณภาพที่มีขนาดปานกลางอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
        2.1 ความเหมาะสมของรูปแบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักวิทยาศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        2.2 ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
        2.3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.50/86.13 เป็นไปตามเกณฑ์ 85/85
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏผลดังนี้
        3.1 ดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6892 หรือคิดเป็นร้อยละ 68.92
        3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักวิทยาศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.3 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน (ว 22101) ในภาคเรียนที่ 1 ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักวิทยาศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.4 จิตนิสัยทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
        3.5 ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ (ว 22101) เรื่อง สารและสมบัติสาร เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมาก
    4. ผลประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานอย่างง่าย “นักวิทยาศาสตร์น้อย” (PAKIDS Model) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : วิจัยและพัฒนา, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, นักวิทยาศาสตร์น้อย, รูปแบบการจัดการเรียนรู้พาคิดส์, ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, จิตวิทยาศาสตร์, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^