LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์
ศรัทธากระยาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ชื่อผู้ประเมิน    นายถวิล แซ่ตั้ง
ปีการศึกษา     2563

บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้ เป็นการรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธากระยาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของ สตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebeam, D. L. & et al,1971:216-265) มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธากระยาราม จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ยกเว้นผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) ประเมินด้านบริบท มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 4) ประเมินด้านผลผลิต มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 และ 5) ประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมิน ด้านบริบทของโครงการ (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมพบว่าระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือปัญหาและความจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุดและความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู
ในภาพรวม พบว่า ระดับความพอเพียงอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดความพอเพียงของสื่อวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดและความพอเพียงของงบประมาณอยู่ในระดับมากส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือความพร้อมและความเหมาะสมของบุคลากรอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการ (Process evaluation) ตามความคิดเห็นของครูในภาพรวมพบว่าระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ด้านการดำเนินงาน (Do)อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือการกำกับนิเทศติดตามและประเมินผล(Check)อยู่ในระดับมากที่สุดและการวางแผน(Plan)อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล (Act)
อยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมพบว่า
4.1 พฤติกรรมสุขภาพนักเรียนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ พบว่า ระดับพฤติกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ โดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยสามลำดับ ได้แก่ นักเรียนนำความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพไปเผยแพร่ต่อชุมชนผู้ปกครองและคนในครอบครัว อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนรู้จักเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนรู้จักป้องกันอุบัติภัยในท้องถนน อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งเท่ากับ นักเรียนรักการออกกำลังกาย และ นักเรียนรู้จักป้องกันอุบัติภัยในท้องถนน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนเป็นแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยสามลำดับ ได้แก่ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีประโยชน์ต่อนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือกิจกรรมของโครงการมีความน่าสนใจและมีประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมของโครงการมีความหลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^