LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสต

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
และการคิดเชิงเหตุผล ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้วิจัย        นางวีรยา ดิษเหมือน ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนเทศบาล ๑ (ขจรเนติยุทธ) เทศบาลเมืองลำสามแก้ว
จังหวัดปทุมธานี
ปีวิจัย        2562

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กชาย – หญิง ที่กำลังศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ขจรเนติยุทธ) เทศบาลเมืองลำสามแก้ว จังหวัดปทุมธานี ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 2/2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 แผน 2) คู่มือครูสำหรับรูปแบบการจัดประสบการณ์รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 3) แบบทดสอบความสามารถในทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่ 2 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 5) แบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้เรียนด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลระหว่างคะแนนทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนด้วย t- test
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
    1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
            1.1 ขั้นจุดประกายแนวคิด (Stimulation) เป็นขั้นที่เด็กได้รับการกระตุ้นให้สนใจ ด้วยสื่อที่เป็นของจริง ภาพ นิทานที่เหมาะสมกับวัย โดยให้ใช้คำถามให้ค้นหาคำตอบเพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้เหตุผลและสืบค้น แสวงหาความรู้เพื่อให้ได้คำตอบนั้น
            1.2 ขั้นร่วมด้วยช่วยกันคิด (Cooperation) เป็นขั้นที่ให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มละ 4-5 คน เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบของกลุ่มจากการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น พิจารณา ข้อมูลที่ได้รับโดยใช้ประสาทสัมผัสในการสำรวจ สังเกต หรือทดลองและสรุปข้อมูล ซึ่งครูจะเข้าไปช่วยเหลือแนะนำเมื่อเด็กเกิดปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ
            1.3 ขั้นนำเสนอแนวความคิด (Presentation) เป็นขั้นที่เด็กนำเสนอผลการเรียนรู้ จากสิ่งที่ค้นพบโดยการออกมาเล่าหน้าชั้นเรียนจัดแสดงผลงานของกลุ่มบนป้ายนิเทศหรือ มุมแสดงผลงาน แลกเปลี่ยน เรียนรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่น
            1.4 ขั้นประยุกต์แนวคิดและนำไปใช้ (Application) เป็นขั้นที่เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ โดยครูใช้คำถามให้เด็กหาคำตอบจากเหตุการณ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เดิมซึ่งเด็กตอบได้ หลากหลายวิธี เช่น การเล่าหรือสร้างผลงานใหม่ ครูสังเกตการให้เหตุผลของเด็ก ในการนำ ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในสถานการณ์ใหม่
    2. รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลเพิ่มขึ้น
    4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
        1) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถในทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
        2) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ถือว่าผ่านเกณฑ์
        3) เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากถือว่าผ่านเกณฑ์

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^