รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ผู้รายงาน นายเจษฎารัฐ ประกอบกิจ
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาลึก
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนบ้านนาลึก ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อประเมินปัจจัย ประเมินกระบวนการ ประเมินผลผลิต และประเมินผลลัพท์ของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบไอปู้ (IPOO Model) (อ้างถึงในสมหวัง พิธิยานุวัฒน์. 2558 : 200-209) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 17 คน 2) ประชากรครู จำนวน 5 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 16 คน และ 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านนาลึก จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บนวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .97-.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านปัจจัย (Input) ของโครงการการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนบ้านนาลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมาก (= 4.22, = 0.17) ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัดพบว่า ตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมาก ( = 4.28, S.D. = 0.44) รองลงมาคือ ความพอเพียงของงบประมาณ ( = 4.26, S.D. = 0.37) ส่วนตัวชี้วัดด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.16, S.D. = 0.47) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
2. ผลประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนบ้านนาลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่า กลุ่มคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55 , S.D. = 0.09) รองลงมาคือ กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.50, = 0.13) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.43, S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ ประกอบด้วย
3.1 ระดับคุณภาพการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนนาลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. =0.04) รองลงมาคือ กลุ่ม ครู อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, = 0.07) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ( = 4.67,S.D. = 0.05)
3.2 สรุปผลการประเมินระดับการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการดำเนิน โครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนบ้านนาลึก ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. =0.12) รองลงมาคือ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก (= 4.43, = 0.01) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก เช่นกัน ( = 4.42,S.D. = 0.11)
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome หรือ Effect + Impact) ของโครงการ ประกอบด้วย
4.1 คุณภาพโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Workplace) โรงเรียนบ้านนาลึก ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครูโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.82 ,= 0.22) รองลงมา คือ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70 ,S.D.= 0.17)
4.2 พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ตามความคิดเห็นของนักเรียน และครู โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมินพบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.58, =0.14) รองลงมาคือ นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48 ,S.D. = 0.17)
1.3 พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65,S.D. = 0.17) รองลงมาคือ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ( = 4.63,S.D. = 0.15)