LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

usericon

ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ชื่อผู้ประเมิน : นายอดิศักดิ์ ชุมฉิม
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากรของสถานศึกษา งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัด 3) ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การนิเทศติดตาม การแก้ปัญหาอุปสรรค 4) ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการบริหารโครงการ การจัดกิจกรรม การมีส่วนร่วม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น จำนวน 229 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ จำนวน 200 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) ครู จำนวน 7 คน 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 6 จำนวน 100 คน 4) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 85 คน 5) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามจำนวน 9 ฉบับ ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วน ประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.75 – 0.91 เก็บข้อมูลช่วงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 – 9 เมษายน พ.ศ. 2564
การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS for Windows) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (stand- deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้านทุกตัวชี้วัดและภาพรวมของโครงการดังนี้
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และใน 4 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย และความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ตามลำดับ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความพร้อมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และใน 4 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า บุคลากรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ วัสดุอุปกรณ์ การบริหารจัดการ และงบประมาณอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
    3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการโดยการประเมิน 4 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีความพร้อมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และใน 4 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า การวางแผน และการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การแก้ปัญหาอุปสรรคและการนิเทศ ติดตาม อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการโดยการประเมิน 3 ตัวชี้วัด ในภาพรวมมีผลการประเมินในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และใน 3 ตัวชี้วัด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก
    ผลการประเมินโครงการในภาพรวม โครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้น จึงเห็นสมควรอย่างยิ่งที่จะให้ดำเนินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดธาราวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องตระหนักและให้ความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง และมีการจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ กำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^