LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเร

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ผู้วิจัย นายวรภัทร ธนะวัง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วม
เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยดำเนินการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา
(Research and Development) แบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1
ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน ระยะที่ 2 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการ
แบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน และระยะที่ 3 ผลการประเมิน
การใช้รูปแบบการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของ
โรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว
จังหวัดน่าน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
อำเภอปัว จังหวัดน่าน จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบ
เจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นคู่มือการดำเนินงานและตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานการบริหาร
วิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียน ไตรประชาวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่านผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน พบว่า มีปัญหา 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านนักเรียน
นักเรียนไม่มีระเบียบวินัยในตนเอง ขาดความสนใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน 2) ปัญหาด้านครูคือ ครูไม่ได้
จัดการเรียนการสอนแบบ Active learning หรือแบบบูรณาการ ตามแนวทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ยังยึดการสอนแบบเดิม ไม่มีนวัตกรรมใหม่ในการสอนที่เป็นสื่อดิจิทัล และ 3) ปัญหา
ด้านชุมชน คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเอง จากการวิเคราะห์
ปัญหาร่วมกัน ประเด็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุด คือ ปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและ
การมีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนา
คุณภาพการศึกษามาเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) และสร้างชุมชนนักปฏิบัติ
(Communities of Practice : CoP) เป็นการให้คนในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในการนำหลัก
เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นวิทยากรในการสอนนักเรียนและชุมชน ให้เกิดอาชีพใหม่สามารถเลี้ยงตัวเอง
และครอบครัวได้
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2
อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยนำเอาผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ
การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มีผลงาน
ในการบริหารวิชาการแบบมีส่วนร่วมที่เป็นเลิศ ให้เป็นกรอบในการร่างรูปแบบ โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ
5 ท่าน ประเมินความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
มี2 องค์ประกอบหลัก คือ 1) การวิจัยแบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน และ 2) การดำเนินการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน 19 กิจกรรมย่อย รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบ
มีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยผ่านการพิจารณาจาก
ผู้เชี่ยวชาญว่า มีความเป็นไปได้ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์มีค่าอยู่ในระดับมากที่สุด
ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม 7 ขั้นตอน และแผนการดำเนินงานจัดกิจกรรม
การเรียนรู้19 กิจกรรมย่อย
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการ
เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน
เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ร่วมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ครูโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการ
สถานศึกษาและผู้นำชุมชน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบ และความพึงพอใจต่อสภาพการมีส่วนร่วม
ของชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่งผลในการยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ดี
4. ผลการประเมินผลรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะ
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
น่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ร่วมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ครูโรงเรียน
ไตรประชาวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 อำเภอปัว จังหวัดน่าน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา
และผู้นำชุมชน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบและความพึงพอใจต่อสภาพการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่งผลในการยกระดับคุณภาพการศึกษา คือ
4.1 ระดับบุคคล ได้แก่ นักเรียนมีทักษะชีวิต มีการทำงานเป็นทีม มีความใฝ่รู้เรียนรู้
อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
4.2 ระดับกลุ่ม ได้แก่ ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียน
เป็นสำคัญ ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษา เพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนา
สู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
4.3 ระดับองค์กร ได้แก่ มีระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยสถานศึกษาและ
ต้นสังกัด มีรูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม สู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ
ที่ 21 ที่ทำให้จัดการศึกษาได้บรรลุเป้าหมายผ่าน การประเมิน สมศ.
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม การพัฒนารูปแบบ, การบริหารวิชาการ, การพัฒนาการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^