การพัฒนาความสามารถด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช
ขื่อผู้วิจัย นางสาวอาริสา โพธิ์ทอง
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2563
ประเภทงานวิจัย วิจัยในชั้นเรียน
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ นำวิธีการสอนแบบบทบาทสมมุติใช้สอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ แก่นักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ ก่อนเรียนกับหลังเรียน (3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะโต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการเรียนแบบบทบาทสมมุติ เรื่องการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/17 จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ จำนวน 10 แผน (2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ ผลการศึกษา พบว่า การสอนแบบบทบาทสมมุติ มีประสิทธิภาพ 81.69/86.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ มีดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.59 แสดงว่านักเรียนมี ความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 58.70 นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทบาทสมมุติมีความสามารถในการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ จากก่อนเรียน และมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนา ความสามารถด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสรุป การพัฒนาความสามารถด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจ โดยใช้การสอนแบบบทบาทสมมุติ ช่วยให้นักเรียนมีการพัฒนาการด้านการพูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าวใจมากขึ้น และการแสดงบทบาทสมมุติ ช่วยให้นักเรียนเกิดความมั่นใจในการเลือกใช้ภาษาในสถานการณ์จริง มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ