ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้ประเมิน นายสุเทพ สังข์วิเศษ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ปีการศึกษา 2562-2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 3) เพื่อสรุปแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในปีการศึกษา 2562-2563 ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563
1.1 ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562 สรุปได้ดังนี้
1.1.1 ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) มีความเหมาะสมในระดับมาก
1.1.2 ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) มีความพร้อม ในระดับปานกลาง
1.1.3 ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง ในส่วนผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 3.50
1.1.4 ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่าผลผลิต (Product) มีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ด้านผลผลิต (Product) คะแนนรวมเฉลี่ยด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ได้คะแนน 3.95 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงในระดับมาก นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าใจดีมาก และมีเจตคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้สึกเป็นกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 54.06
1.2 ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ดังนี้
1.2.1 ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) มีความพร้อมในระดับมาก
1.2.2 ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ในภาพรวม พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.00
1.2.3 ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่าผลผลิต (Product) มีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ด้านผลผลิต (Product) คะแนนรวมเฉลี่ยด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ได้คะแนน 4.00 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง ในระดับมาก นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับเข้าใจดีมาก และมีเจตคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้สึกเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71.29
2. การเปรียบเทียบผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 สรุปได้ ดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น (Input) การดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ในภาพรวม พบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยปี 2562-2563 มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน โดยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 0.94
2.2 ผลการเปรียบเทียบการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ปีการศึกษา 2562-2563
2.2.1 การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) การดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์-วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของบุคลากรของโรงเรียนปาโมกข์-วิทยาภูมิ ในภาพรวมระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.3 ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ปีการศึกษา 2562-2563
2.3.1 การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิต (Product) การดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 ทุกองค์ประกอบ สอดคล้องกัน
2.3.2 ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองของการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ด้านผลผลิต (Product) ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2.3.3 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
บุคลากรของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ในภาพรวม
พบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2562-2563 มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.3.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ในภาพรวม พบว่า มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.3.5 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ของปีการศึกษา 2562 กับ ปีการศึกษา 2563 หลังการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562
2.3.6 ผลการเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ในภาพรวม พบว่า นักเรียนมีระดับเจตคติที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปี-การศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย 54.06 มีความรู้สึกเป็นกลาง ส่วนปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย 71.29 มีความรู้สึกเชิงบวก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 17.23 สูงกว่าปีการศึกษา 2562
3. แนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในปีการศึกษา 2562-2563 สรุปได้ ดังนี้
3.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการกำหนดนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดเป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน มีการดำเนินการโครงการและกิจกรรม ให้สอดรับกับความต้องการของโรงเรียน มีการนำผลการติดตามมาพัฒนานโยบาย แผนงาน/โครงการให้ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำผลการติดตามไปพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามีการวางแผนการจัดสรรงบประมาณอย่างคุ้มค่าตามแผน- ปฏิบัติการประจำปี การเบิกจ่ายงบประมาณ การรายงาน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ ภายในโรงเรียน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดทำเป็นฐาน ประสานงานกับชุมชน นำข้อมูลที่เป็นปัญหา และจุดอ่อนในปีการศึกษาที่ผ่านมา ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดผลการดำเนิน- งานที่มีคุณภาพมากที่สุด
3.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนจัดทำหลักสูตรจัดการเรียนการสอน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนิเทศติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องจัดให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้สู่การเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีการวัดผลการเรียนรู้ จัดทำสื่อและแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย มีการจัดทำเครื่องมือวัดผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
3.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้มแข็งมีการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนากิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย จัดกิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี กิจกรรมชุมนุมที่หลากหลาย ตามความสนใจของนักเรียนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เลือกกิจกรรมตามความ-สนใจ ความถนัด
3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โรงเรียนดำเนินงานจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน มีการประชุมให้ความรู้สร้างความเข้าใจภายในโรงเรียน ให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งครูเข้าร่วมอบรมจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อมนำมาปฏิบัติในสถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ให้มีการสรุปรายงานโครงการ/กิจกรรม อย่างครบถ้วน มีการนิเทศ ติดตาม นำผลการพัฒนามาเผยแพร่ แก่บุคลากรและชุมชน เช่น การประชุมตามวาระต่าง ๆ
3.5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น มีความปลอดภัย มีแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูและบุคลากรและนักเรียน มีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแหล่งเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้บริหาร มีความรู้ ความเข้าใจและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการบริหารจัดการการศึกษา มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและภายนอก ชุมชน และหน่วยงานภายนอกเห็นคุณค่า ยอมรับและให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง