ประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านแหลมหิน
กลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู/บุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านแหลมหิน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนรวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด จำแนกตามกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ แบบสอบถามชุด ก. (สำหรับครู/บุคลากร และคณะกรรมการสถานศึกษา) แบบสอบถามชุด ข. (สำหรับนักเรียน) และแบบสอบถามชุด ค. (สำหรับผู้ปกครอง) การหาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับโครงการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนรู้ จำนวน 5 ท่าน
ผลการวิจัย โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.82, SD = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.87, SD = 0.78) รองลงมาได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.85, SD = 0.77) ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.81, SD = 0.76) และด้านกระบวนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.76, SD = 0.73)
เมื่อพิจารณาด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และ กิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการในด้านทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร การดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ สร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ครูหรือวิทยากรมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ สถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและเพียงพอ และ เนื้อหาการบรรยายมีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านกระบวนการดำเนินงาน พบว่า มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการบูรณาการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และ กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ตามลำดับ
เมื่อพิจารณาด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง และ นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ตามลำดับ
ผู้วิจัย นายจิรพนธ์ xxxมยิ