การพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย ศรีจันทร์ ปัสสาคำ
ปีที่ดำเนินการ ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดศิวาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดศิวาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 2) ศึกษาความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนต่อผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดศิวาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนโรงเรียนวัดศิวาราม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 194 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545) ประกอบด้วย ครู จำนวน 17 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน (ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน (ไม่รวมคณะกรรมการสถานศึกษาที่เป็นครู)นักเรียน จำนวน 120 คน (นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบแบบมาตราส่วนประมาณค่า( Rating Scale ) ชนิด 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. การพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดศิวาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความมีเหตุผล รองลงมา คือ ด้านความพอประมาณ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี
2. ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา และนักเรียนต่อผลการพัฒนาคุณภาพนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดศิวาราม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน ระดับมาก 1 ด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความพอประมาณ รองลงมา คือ ด้านความมีเหตุผล ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี