การสร้างคู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6
ชื่อผู้ศึกษา อิศราวิทย์ จริยา
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การสร้างคู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและ หาคุณภาพของคู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 2) เพื่อศึกษาผลการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 7 คน นักเรียน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 15 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน สังกัดโรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 6 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 47 คน ได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่สนทนากลุ่มในประเด็นการประสบปัญหา ด้านคุณภาพของผู้เรียน กระบวนการบริหารและการจัดการ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มที่ 2 เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครู จำนวน 7 คน สังกัดโรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 6 ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ใช้ประเมินผลการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 แบบประเมินผลการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เชิงระบบ โรงเรียนบ้านสามสบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน